วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความ ของเล่น สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก ๆ (ตอนที่ 1)

http://www.toyandkidmania.com/article/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B9%86-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1



ของเล่น สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก ๆ (ตอนที่ 1)




วัยเด็กของทุกคน มีสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนเพื่อนก้าวผ่านข้ามวันเวลาอันสดใส นั่นก็คือ “ของเล่น”

บางครั้ง คนมักคิดว่าของเล่นไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญสักเท่าไร แต่ที่จริงแล้วของเล่นมีคุณค่าและความหมายมากกว่าที่หลายคน

คาดคิด เพราะเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย


พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม กล่าวว่า ของเล่นมีความสำคัญ แต่ไม่ได้หมายถึงว่า

พ่อแม่ต้องซื้อของเล่นแพงๆ ให้ลูกเล่น “ของเล่นอาจจะเป็นแค่ลูกปิงปองมาห่อผูกทำเป็นตุ๊กตา เหมือนตุ๊กตาไล่ฝนของญี่ปุ่น

หรืออาจเป็นหนังสติ๊กเอามาร้อย หรือแค่กระดาษเปล่าๆ ก็สามารถนำมาเป็นของเล่นได้ นั่นหมายถึง การเล่นของเด็ก

ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าของเล่นนั้นคืออะไรและอีกสิ่งที่สำคัญมากคือคนที่เล่นกับเด็กจะต้องมีเทคนิควิธีเล่นกับเด็กที่เหมาะสมด้วย”


เห็นไหมล่ะว่า เด็กแต่ละวัยก็มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันไป บางครั้งบางคราวของเล่นของแต่ละวัย

ก็มีความคาบเกี่ยวกันอยู่เหมือนกัน จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องคอยสังเกตพัฒนาการของลูกน้อยแล้วก็พยายามเลือกสรร

ของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย


คุณหมอยังได้แนะนำด้วยค่ะว่าถ้าพ่อแม่ไม่แน่ใจว่าจะเลือกอะไรให้ลูกดีก็สามารถลองปรึกษาผู้รู้หรือหาอ่านตามหนังสือเอาก็ได้

และก็ไม่จำเป็นต้องหาซื้อแต่ของเล่นที่แพงๆ เท่านั้น


“ยุคสมัยนี้มีเครื่องเล่นมากมายที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก แต่บางครั้งพ่อแม่กลับไม่รู้ว่าจะเลือกของเล่นให้ลูกได้อย่างไร

…ถ้าจะพูดกันจริงๆ แล้ว การที่เด็กจะเกิดการพัฒนาจากการเล่นนั้น พ่อแม่จะต้องเลือกของเล่นที่ไม่ง่ายและไม่ยากเกินไป

มีความท้าทายให้เขานิดๆ เพราะถ้าง่ายไป เด็กจะเบื่อ แต่ที่สำคัญที่สุดควรจะมีคนเล่นกับเด็กเพราะถึงแม้ของเล่นจะดี

จะแพงแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีคนเล่นด้วย เด็กก็จะไม่เล่น”




การเล่นเพื่อช่วยเสริมพัฒนาการ

หากจะแบ่งช่วงวัยและพัฒนาทักษะให้แก่เด็กเล็กอย่างง่ายๆ แล้ว คุณหมอบอกว่า แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 0-18 เดือน

และ 18 เดือน-3 ปี


“ช่วง 0-18 เดือน เรียกว่าวัยทารก เป็นวัยที่เด็กเรียนรู้และสำรวจโลก การพัฒนาเด็กจะต้องให้เขาได้พัฒนาระบบประสาท

สัมผัสทั้ง 5 และการเคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่น ในช่วง 9 เดือน เด็กจะเริ่มเข้าใจว่าสิ่งของต่างๆ ยังคงมีอยู่แม้ว่าจะหายไปจาก

ที่เขาเห็น เช่น เมื่อเรายื่นตุ๊กตาให้เขาพอเขาจะเอื้อมมาหยิบ เรารีบเอาผ้าอ้อมปิดไว้ เขาจะดึงผ้าขึ้นเพื่อค้นหาตุ๊กตา

วัยนี้จึงชอบเล่นจ๊ะเอ๋ เมื่อถึงช่วง 10-12 เดือน กล้ามเนื้อมือของเด็กจะดีขึ้น เราก็ลองให้เด็กเริ่มเอาของชิ้นเล็กใส่ถ้วย

ใส่กล่อง หัดเทของออก แล้วเก็บเข้าใส่กระป๋อง


…จากนั้นพอ 18 เดือนจึงค่อยเริ่มสอนให้เขารู้จักอวัยวะ สัตว์ต่างๆ ดูภาพในลำดับที่ยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กเติบโตขึ้น

ก็จะมีจิตนาการมากขึ้น เขาอาจจะเล่นทำครัวขายของ เลี้ยงน้องตุ๊กตา พ่อแม่เป็นผู้ที่มีบาบาทสำคัญที่สุด

ในการเฝ้าสังเกตพัฒนาการของลูก โดยควรศึกษาหรือหาอ่านเพิ่มเติมจากหนังสือต่างๆ หรือสอบถามแพทย์หรือคุณครู”
อีกสิ่งหนึ่งที่คุณหมอแนะนำก็คือ พ่อแม่ต้องให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจากของจริง โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก
“ช่วงเล็กๆ เด็กจะเรียนรู้โดยผ่านระบบประสาทสัมผัสต่างๆ จากของจริง อย่างเช่น เขาจะรู้ว่าวัสดุชิ้นไหนนิ่ม หรือแข็ง

การมองเห็นวัตถุต่างๆ การรับกลิ่น รับรสชาติและการฟัง จากทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของเปียเจต์บอกไว้ว่า

เด็กจะเรียนรู้โลกโดยผ่านระบบประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว


อย่างช่วงเล็กๆ ที่เด็กเริ่มถีบขาได้แล้ว ถ้าหากเราติดโมบายไว้ให้เขา แล้วเด็กบังเอิญถีบขาไปโดนโมบาย

แล้วเกิดการเคลื่อนไหว เด็กจะเริ่มเรียนรู้ว่า ถ้าทำอย่างนี้โมบายจะแกว่งไปมา เด็กก็จะถีบขาเพื่อให้มันแกว่ง

เกิดการเรียนรู้ไปโดยปริยาย”


การเล่นเพื่อพฤติกรรมที่เหมาะสม

ในบางช่วงเวลา เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งถือเป็นพัฒนาการตามวัย อย่างเช่น

การที่เด็กไม่ยอมรับประทานอาหาร คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจใช้วิธีบังคับลูก หรือบางคนอาจจะโอ๋เด็กถึงขนาดที่ว่า

ต้องคอยวิ่งตามป้อนข้าวป้อนน้ำไปเสียทุกที่ ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้องนัก


อันที่จริงแล้วเราสามารถนำการเล่นมาใช้เพื่อปรับพฤติกรรมของลูกได้ พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความสุข

ด้วยการนำตุ๊กตามาเล่นบทบาทสมมติว่ากำลังจะกินข้าวเหมือนกัน เด็กก็จะรู้สึกว่ามีเพื่อนกิน เขาจะรู้สึกสนุก

หรืออย่างบางทีลูกทำตัวไม่น่ารัก ไม่เหมาะสม ก็สามารถแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมผ่านไปทางตุ๊กตา

ให้ลูกรับรู้ได้ว่า พี่ตุ๊กตาทำอย่างนี้ คือน่ารัก


“นอกจากนี้เด็กยังสามารถแสดงความรู้สึกหรือประสบการณ์ที่เขาได้ผ่านการเล่น อย่างถ้าเขาอยู่โรงเรียน

ต้องฟังครูสอน พอกลับมาบ้านเขาอาจจะทำทีท่าเป็นครูสอนตุ๊กตาอีกที เป็นการทบทวนประสบการณ์

ที่ได้รับมา โดยเด็กจะสลับบทบาทด้วยการทำตัวเป็นครูสอนเองบ้าง พ่อแม่ก็จะสามารถรู้ได้ถึงสิ่งที่เด็ก

ต้องประสบพบเจอมาได้จากการเล่นของเขา” พญ. นลินี กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น