วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความ ของเล่นจากธรรมชาติ...ภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น


http://www.healthygamer.net/information/article/12243


ของเล่นจากธรรมชาติ...ภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น



ภูมิปัญญาของครอบครัวที่น่าสนใจอย่างยิ่งอันหนึ่งก็คือ ภูมิปัญญาของการนำเอาของธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นของเล่นให้เด็กๆ ซึ่งนอกจากสนุกแล้วยังเป็นบทเรียนล้ำค่าสอนลูกหลานอีกด้วย



การได้มาทำงานโครงการครอบครัวเข้มแข็ง ทำให้ ’คนหัวเก่า’ ได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาในวงจรชีวิต ซึ่งนักวิจัยในโครงการครอบครัวเข้มแข็งในพื้นที่ได้ศึกษาโดยใช้เครื่องมือวิจัยภูมิปัญญาในวงจรชีวิต ลงศึกษาภูมิปัญญาครอบครัวตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายว่ามีภูมิปัญญาอะไรบ้าง ทำให้ได้พบว่าสมัยก่อนชีวิตของเด็กๆ คงมีความสุขที่สุด (ยิ่งถ้าเทียบกับเด็กเมืองหลวงอย่าเราๆ ) เพราะชีวิตของเด็กๆ สมัยก่อนโดยเฉพาะในชนบทส่วนใหญ่จะอยู่กับการเล่น เล่นอยู่กับเพื่อนท่ามกลางอ้อมกอดของธรรมชาติ และของเล่นที่ได้จากธรรมชาติแทบทั้งนั้น



นอกจากเฮือนน้อย (ทางอีสาน) หรือการเล่นขายของ ซึ่งเด็กๆ จะเอาใบไม้ใบหญ้ารอบตัวมาแทนของซื้อของขายแล้ว ยังมีการละเล่นอีกมากมายที่เด็กๆ ในสมัยก่อนนำธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นของเล่น คนหัวเก่าขอยกบางตัวอย่างซึ่ง อ.สมคิด ทองสง หัวหน้าคณะทำงานครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดพัทลุง ได้รวบรวมเก็บไว้ในงานวิจัยเกี่ยวกับภูมิปัญญาของชุมชนคนทางใต้ มานำเสนอให้คุณผู้อ่านนึกภาพตามพอหอมปากหอมคอค่ะ



เดินกะลา เด็กๆ จะเอาเชือกเส้นหนึ่งยาวประมาณ 1 วา ร้อยกะลามะพร้าว 2 อัน แล้วคนเล่นจะขึ้นไปยืนบนกะลามะพร้าว โดยใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ทั้ง 2 เท้า (เหมือนกับหนีบรองเท้าฟองน้ำ) ตอนเริ่มเล่น ทุกคนจะยืนอยู่ที่เส้น พอได้ยินเสียงสัญญาณให้รีบเดินไปที่เส้นชัย ใครถึงก่อนถือว่าชนะ ด้วยของเล่นที่ดัดแปลงง่ายๆ นี้ เด็กกลับได้ฝึกเรื่องการทรงตัว ฝึกกล้ามเนื้อแขน ขา ให้แข็งแรง ไปพร้อมกับความสนุกสนาน



ปี่ซังข้าว โดยใช้ซังข้าว เอามาทำเป็นปี่ เพื่อเป่าให้เกิดเสียง ซึ่งแต่ละอันก็จะให้เสียงที่แตกต่างกันไป เด็ก ๆ จะได้ความสนุกสนานจากการหัดทำ ฝึกสังเกตขนาดและความยาวของซังข้าวกับเสียงที่จะได้ ถือเป็นการพัฒนาสมองอย่างหนึ่ง และยังทำให้ปอดใหญ่อีกด้วย ปี่ซังข้าวนี้สามารถเล่นได้เพียงปีละครั้ง คือช่วงเวลาเกี่ยวข้าว ดังนั้นสิ่งที่ได้มากกว่านั้น คือเด็กได้เรียนรู้วิถีชีวิตของตนเอง จากการช่วยงานที่พ่อแม่ทำอีกด้วย



ชนวัว เป็นการนำดินมาปั้นเป็นวัว แล้วนำไปตากแดด เมื่อแห้งแล้วก็นำวัวของตนเอง มาใส่ในผ้าขาวม้า ที่เจ้าของวัวทั้งคู่จะต้องจับปลายผ้าขาวม้าไว้คนละข้าง และดึงผ้าขาวม้านั้นให้ตึง ทำให้เหมือนเป็นสนามชนวัว จากนั้นก็ผลัดกันเอียงผ้าข้าวม้า เพื่อให้วัวในสนามทั้งสองตัวได้ชนกัน และถ้าวัวของใครเสียหายก่อนคนนั้นถือว่าแพ้ แค่ทำให้วัววิ่งเข้าหากัน ชนกัน ทำให้เด็กสนุกสนานแล้ว เด็กเองก็ได้เรียนรู้เรื่องการแพ้ชนะ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่จะทำให้เขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็งทางความคิดได้อย่างดี



รถลากกาบหมาก วิถีชีวิตคนไทยสมัยก่อนใกล้ชิดกับต้นหมากอยู่แล้ว ต้นหมากเองจะผลัดกิ่งก้านเสมอ เมื่อแก่ก็จะหลุดมาทั้งกาบที่หุ้มด้วย กาบนั้นจะมีลักษณะโค้งโอบขึ้นมา ซึ่งเด็กก็จะสามารถขึ้นไปนั่งได้ สามารถใช้เป็นรถลากได้อย่างวิเศษ เวลาเล่นคนนั่งจะต้องคอยจับขอบของกาบหมากให้แน่น ส่วนคนลากจะจับตรงปลายที่มีใบ แล้ววิ่งไปจนเหนื่อย ก็จะผลัดมาเป็นคนนั่งบ้าง สร้างความสนุกสนานไปพร้อมกับการฝึกเรื่องของความเสียสละ และไม่เอาเปรียบกัน เพราะหากเป็นคนนั่งแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ยอมลากให้เพื่อนนั่งบ้าง แค่รอบสองรอบก็คงไม่มีใครเล่นด้วยแล้ว



นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ จากการละเล่นมากมายของเด็กสมัยก่อน ซึ่งภูมืปัญญาเรื่องนี้ทำให้ ’คนหัวเก่า‘ มองเห็นภาพสะท้อน 2 ภาพอย่างชัดเจน ภาพแรกคือ เด็กๆ สมัยก่อนได้เรียนรู้จากการเล่นอย่างมาก เพราะการละเล่นที่เห็นล้วนต้องเล่นกับเพื่อนแทบทั้งสิ้น และนั่นจึงเปรียบเสมือนห้องเรียนวิชาสังคมว่าด้วยเรื่องของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เด็กจะได้เรียนรู้การปรับตัวเข้าหากัน การอยู่ร่วมกับเพื่อน ซึ่งไม่สามารถจะเอาแต่ใจ ยึดถือความต้องการของตนเองเพียงฝ่ายเดียว เพราะจะไม่มีคนเล่นด้วย เด็กก็ได้เรียนรู้ว่าตนจะต้องเสียสละให้เพื่อนบ้าง รู้จักคำว่าแพ้บ้าง อันจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ ทบทวนตนเองเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ห้องเรียนห้องใหญ่นี่เองที่จะสอนให้เจ้าหนูตัวน้อยทั้งหลายสะสม และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่กอปรด้วยความดี และวุฒิภาวะมากพอจะให้เด็กรุ่นหลังยกมือไหว้ได้อย่างสนิทใจ



ส่วนภาพที่สองก็คือ ชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างมาก และเข้าใจดัดแปลงธรรมชาติรอบตัวมาเป็นของเล่นไปพร้อมกับการเรียนรู้ และอยู่กับธรรมชาติอย่างอ่อนน้อม สังเกตว่าของเล่นเหล่านั้นล้วนเป็นของที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นกะลามะพร้าว หรือใบไม้ที่ผลัดแล้วอย่างกาบหมาก ซึ่งในที่สุดสิ่งเหล่านี้จะซึมซับเข้าไปในมโนสำนึก ก่อเกิดเป็นความรัก หวงแหน และเห็นคุณค่าของธรรมชาติรอบกาย ส่งผลต่อการดูแลธรรมชาติที่ตนต้องพึ่งพิงอย่างดี



คงน่าเสียดายที่ของเล่นจากธรรมชาติที่ให้มากกว่าความสนุกเหล่านี้จะถูกกลืนหายไป เพราะมีของเล่นไฮเทคฯ สำเร็จรูปแบบใหม่ๆ มาแทนที่ ความละเมียดละไมจากธรรมชาติที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้ถือเป็นภูมิปัญญาของครอบครัวที่เราควรจะเก็บรักษา ไม่ให้กลายเป็นเพียงเรื่องเล่าหรือของโชว์ในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น....มิใช่หรือ

บทความ สื่อ วัสดุ ของเล่นจากธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัย



สื่อ วัสดุ ของเล่นจากธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัย

สำหรับเด็กปฐมวัยสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มีความจำเป็นอย่างมาก ในสภาพของสังคมไทย เราสามารถหาสิ่งดังกล่าวได้จากธรรมชาติ และจากสภาพแวดล้อมรอบตัวซึ่งให้คุณค่ามากสำหรับเด็ก สิ่ง
ดังกล่าวที่เป็นวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ลูกไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ เปลือกหอย ก้อนหิน ก้อนกรวด หรือไม่ก็เป็นของเล่นที่รุ่น
ปู่ย่าตายายทำให้กับลูกหลานเล่น ส่วนใหญ่จะเป็นของที่ทำจากวัสดุพื้นบ้าน ตุ๊กตาทำจากเศษผ้า ผ้าฝ้ายบางๆที่นำมา
ย้อมสีต่างๆ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ จากธรรมชาตินี้หาได้อย่างง่ายดายในสังคมเมืองไทย เพราะมีอยู่ตามธรรมชาติโดยเฉพาะ
ในท้องถิ่นตามภูมิภาคของไทยเรา นอกจากมีผลดีเป็นอย่างมากในด้านการประหยัดแล้ว ยังทำให้เป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ การรักษาวัฒนธรรมและประเพณีของไทย และที่สำคัญคือการส่งเสริมการนำสิ่งดังกล่าวมา



เล่นอย่างสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัย

บทความ พ่อและแม่คือของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก

http://www.toyandkidmania.com/article/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81



พ่อและแม่คือของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก



            น.พ.ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล จิตแพทย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การเลือกของเล่นให้ลูกต้องคำนึงหลักของความปลอดภัย ส่งเสริมพัฒนาการลูกและมีความสนุกสนาน เคล็ดลับในการซื้อคือ เลือกของเล่นที่พ่อแม่อยากเล่นด้วย จะทำให้พ่อแม่ไปเล่นกับลูกมากขึ้น ถ้าเลือกของเล่นสำหรับเด็กให้กับเด็ก พ่อแม่หลายคนจะถอยออกมาไม่เล่นกับลูก แต่ถ้าเลือกของเล่นที่พ่อแม่เล่นได้ด้วยนั้น จะสร้างบรรยากาศการเล่นร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก สานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ระหว่างเล่นพ่อแม่สามารถสอดแทรกการอบรมสั่งสอนได้ด้วย

           ส่วนวิธีเลือกของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูกนั้น ขั้นแรกต้องอ่านคำแนะนำที่อยู่ที่กล่อง ของเล่น ดูว่า ลูกของเราอายุขนาดนี้น่าจะเล่นของชิ้นนั้นได้หรือไม่ ถ้าได้ ให้พิจารณาราคาว่าแพงมากเพียงใด ป้องกันความผิดพลาด ควรซื้อของเล่นที่เกินอายุเด็กเล็กน้อย โดยคำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นด้วย เหตุผลที่ซื้อของเล่นเกินอายุลูกนั้น หากซื้อมาแล้วลูกไม่เล่น เราเก็บไว้ ได้ อีกไม่นานลูกก็เติบโตทันของเล่นนั้น แต่ถ้าซื้อมาแล้วของเล่นเหมาะสำหรับเด็กที่เล็กกว่าช่วงวัยของลูก เด็กจะไม่เล่น เมื่อโตแล้วเขาก็ไม่เล่น เป็นการสิ้นเปลือง

         น.พ.ดุสิต กล่าวว่า การเลือกซื้อของเล่นที่พ่อแม่สนใจและสอดคล้องกับความต้องการของลูกนั้น ควรตอบคำถามให้ได้ว่า พ่อแม่อยากเล่นของเล่นนั้นจริงหรือไม่ ไม่ใช่เป็นลูกเล่นของพ่อแม่ทำเป็นสนใจ เพื่ออยากให้ลูกเล่น เช่น แบบฝึกการสื่อสารสองทางหรืออินเตอร์แอคทีฟ ที่มีเนื้อหาเป็นวิชาการ หากพ่อแม่สนใจอย่างจริงจัง เล่นอย่างสนุกสนาน ในไม่ช้าลูกจะเข้ามาเล่นด้วย ไม่ต้องบังคับให้เล่น

       ตั้งแต่เด็กขวบปีที่ 1 การเคลื่อนไหวของเด็กจะอาศัยความช่วยเหลือจากพ่อแม่ อวัยวะของเราหลายส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ เล่นกับลูกได้ นิ้วมือ หน้าตา การเคลื่อนไหวของหน้า ผิวปาก ส่งเสียงเป็นสิ่งต่าง ๆ การสัมผัส ทั้งหมดนี้เราเล่นกับลูกได้ทั้งนั้น ไม่ต้องซื้อของเล่นที่ราคาแพงเลย การเคลื่อนไหว ในลักษณะเฉพาะ เช่น ยืนขาเดียว กระโดด พ่อแม่ทำให้ลูกดูแล้วก็เล่นกับเขา ร่างกายของพ่อแม่ใช้เล่นกับลูกได้ กระโดดข้ามขาพ่อ เกิดความสนุก พ่อแม่มีเวลาอยู่กับเขา สร้างสานสัมพันธ์กันได้” น.พ.ดุสิต กล่าว และว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่จะมองข้ามการเล่นในลักษณะนี้

         ทุกอย่างในโลกนี้ เด็กเล่นได้หมด ถ้าได้ของเล่นที่ออกแบบมาเพื่อการเล่น เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น ไม่ได้เรียนรู้ผ่านการเรียน เพราะการเล่นสนุก แต่การเรียนบางครั้ง ทำให้เครียดได้ อยากให้พ่อแม่เล่นกับลูก เมื่อลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วเขาไม่เล่นกับเราแล้วจะเสียดาย อาจเล่นบอล เล่นบาส ปลูกต้นไม้ร่วมกันก็ได้

บทความ ของเล่น สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก ๆ (ตอนที่ 2)

http://www.toyandkidmania.com/article/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B9%86-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2



ของเล่น สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก ๆ (ตอนที่ 2)





เล่นอย่างไรเมื่อลูกน้อยไม่สบาย
          ถ้าหากลูกน้อยของคุณเกิดอาการไม่สายขึ้นมา หากสังเกตให้ดีๆ ก็จะพบว่าเจ้าหนูของเราไม่ได้หยุดกิจกรรมการเล่นเสียทีเดียวนะคะ เด็กบางคนจะอึดมากถึงขนาดที่ว่าไขขึ้นสูงแล้วก็ยังไม่ยอมหยุดเล่น ในขณะที่บางคนอาจจะนั่งซึมๆ ไปหน่อย แต่พอไข้ลดแล้วก็เล่นต่อ เรื่องนี้แสดงให้เราเห็นได้ค่ะว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปห้ามเด็กไม่ให้เล่นในขณะที่เขาเจ็บป่วย
“ความเจ็บป่วยถือเป็นความเครียดอย่างหนึ่งของเด็กถ้าหากพ่อแม่บังคับให้เขาหยุดเล่นอีก เขาก็จะรู้สึกเครียดเพิ่มขึ้นไปอีก ดังนั้นทางที่ดีที่สุดพ่อแม่ก็ควรจะปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสเล่นอย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกายและจิตใจของเขาในขณะนั้น อย่างเวลาที่พาไปหาหมอที่โรงพยาบาลก็จะมีพื้นที่สำหรับให้เด็กเล่นก็ควรจะให้เขาได้เล่นแม้แต่เด็กที่ป่วยมากจนจำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ควรจะมีโอกาสได้เล่น เพราะการที่เด็กต้องย้ายที่มานอนค้างที่โรงพยาบาล ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยและยังรู้สึกหวาดกลัวกับสิ่งต่างๆ ที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นคุณหมอ คุณพยาบาล การฉีดยา ให้น้ำเกลือ หากเขามีโอกาสได้เล่นก็จะทำให้เด็กสามารถระบายความรู้สึก ลดความตึงเครียดออกไปได้ รวมทั้งยังได้ปฏิบัติในสิ่งคุ้นเคยที่ปฏิบัติอยู่ทุกวัน นั่นคือ การเล่น” พญ. นลินี ทิ้งท้าย

           การเล่นจึงเปรียบได้เทียบเท่ากับปัจจัยที่ 5 ของเด็กทุกคนเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับเด็ก เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการเล่น ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาดี การประยุกต์การเล่นเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ จะช่วยให้เด็กมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์สนุกสนานและมีความสุข

          ที่สำคัญการเล่นเป็นกิจกรรมที่ต้องสอน และควรได้รับการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่ ลูกจะได้เรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัส สัญลักษณ์ และสื่อความคิด ความเข้าใจโดยผ่านการเล่น ซึ่งมักจะมีอุปกรณ์สำคัญในการเล่นที่เรียกว่า “ของเล่น” และของเล่นจึงมีความสำคัญสำหรับพัฒนาการของลูก


อันตรายที่เกิดจากการเล่น
มักเกิดขึ้นเมื่อเด็กวัยทารก หรือวัยหัดเดินเล่น ของเล่นสำหรับเด็กโต สะดุดของเล่นที่ทิ้งไว้ไม่เก็บเข้าที่ภายในหลังการเล่น ส่วนใหญ่อันตรายที่เกี่ยวข้องกับของเล่นมักหลีกเลี่ยงได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสอนลูกถึงการเล่นที่ถูกวิธีและเหมาะสม


ของเล่นที่อาจมีอันตราย


ได้แก่รถหัดเดิน ประทัดและดอกไม้ไฟ ปืนอัดลม ปืนแก๊บ ของเล่นที่เด็กอาจเลียนแบบความรุนแรง ประเภท มีด ดาบ วิดีโอเกมส์ ลูกโป่ง ลูกบอล หรือลูกปัดเล็กๆ ของเล่นที่มีเชือกหรือสายรัด ประเภท กีตาร์ ริบบิน ของเล่นที่แขวนในเปลหรือเตียงเด็ก ของเล่นที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน ประเภท สี หรือภาชนะเลียนแบบขวดยา สารเคมีต่างๆ ภายในบ้าน ลูกเหวี่ยงหรือโยโย่ สกูตเตอร์ สเกตบอร์ด หรือจักรยาน ฯลฯ ของเล่นที่ลูกเล่นอยู่ทุกวันนั้นอาจมีอันตรายแอบแฝงอยู่ก็ได้ แม้ว่าบริษัทผู้ผลิตของเล่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำงานอย่างหนักแล้วก็ตาม


อ่านฉลากให้ละเอียดก่อนเลือกของเล่นให้ลูก

ลองดูที่กล่องของเล่น จะมีระบุว่าเหมาะกับเด็กวัยใด ควรเลือกให้เหมาะกับลูกเรา หากมีคำเตือนระบุอยู่ต้องอ่านให้ละเอียด


ดูที่ตัวของเล่นว่ามีความแข็งแรงทนทานหรือไม่ รวมทั้งระวังอย่าให้มีส่วนที่แหลมคมอันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็ก


ถ้าซื้อตุ๊กตาแบบที่เป็นผ้าเย็บ ต้องตรวจดูการแข็งแรงของการเย็บ อย่าให้มีชิ้นส่วนหลุดลุ่ยออกมา


ของเล่นที่มีเชือกเป็นส่วนประกอบ ความยาวเชือกไม่ควรยาวกว่ารอบคอเด็ก


ของเล่นเด็กมีมากจะดีหรือ?


ปัจจุบันยังมีแม่อีกมากที่ชอบซื้อของเล่นให้ลูก คุณแม่ส่วนใหญ่ชอบเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการ เพื่อช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของลูกแทนเวลาที่แม่ไม่อยู่ ของเล่นพวกนี้คงจะเป็นเครื่องมือช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีได้ไม่มากก็น้อย ฟังดูก็มีเหตุผล แต่จะถูกหรือผิด ไปดูผลงานการวิจัยกันค่ะ


รศ.พญ.นิตยา คชภักดี กุมารแพทย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวว่า ของเล่นกระตุ้นพัฒนาการเด็กเป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ถ้ามากเกินไปกลับส่งผลให้เกิดความเครียด เปรียบเหมือนเราไปในสถานที่ที่มีแสงสีเสียงมากๆ ทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะและมีสมาธิจดจ่อน้อยลงด้วย ส่วนของเล่นที่ยากเกินอายุ แทนที่จะส่งผลดีต่อเด็ก แม่ซื้อรถบังคับวิทยุทั้งที่ลูกเพิ่งจะอายุ 2 ขวบ เขาก็จะไถให้มันวิ่ง พอมันไม่วิ่ง เด็กก็จะโกรธและขว้างทิ้ง คุณก็จะโกรธว่าของเล่นดีๆ แพงๆ ทำไมลูกถึงทำอย่างนั้น สรุปคือเสียอารมณ์ทั้งแม่และลูก การเลือกของเล่นจึงต้องเหมาะกับพัฒนาการของเด็กด้วย


รศ.ดร.จิตินันท์ เตชะคุป ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นของเด็กทั้งในและต่างประเทศ กล่าวว่า ที่สหรัฐอเมริกามีคุณพ่อท่านหนึ่งสร้างห้องสำหรับเล่นให้ลูก ภายในห้องมีของเล่นเยอะมากแต่แทนที่ลูกจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่พ่อหามาให้ ลูกกลับไม่ยอมเล่นเลยเพราะความมีมากเกินไป ต่างกับอีกครอบครัวหนึ่งที่ผู้ปกครองหาเวลามาเล่นกับลูกแทนการใช้ของเล่น คือเป็นการเล่นในลักษณะทางกาย คุณพ่อจะเล่นมวยปล้ำกับลูก ส่วนคุณแม่จะสอนในลักษณะการสอนเรื่องสี ขนาดรูปทรง จากสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เด็กมีพัฒนาการที่ดี เพราะได้คิดตามผู้ใหญ่ การให้เล่นของเล่นที่ไม่มีสภาพเหมือนของจริง เช่น เอากล่องกระดาษมาจินตนาการว่าเป็นรถ จะพัฒนาความคิดซับซ้อนให้กับเด็กซึ่งดีกว่าการเล่นของเล่นที่เหมือนจริง เนื่องจากเด็กต้องใช้จิตนาการว่ากล่องกระดาษเป็นรถนั่นเอง


ส่วนในต่างประเทศมีการวิจัยในเรื่องนี้หลายชิ้น เช่น มิลแคร์ เลิร์นเนอร์ ชาวอเมริกัน นักวิจัยด้านพัฒนาการเด็กวัย 1-3 ปี พบว่าเด็กที่มีของเล่นมากเกินไป จะลดความสนใจที่จะเล่นของเล่นของตนเอง เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีของเล่นน้อยชิ้นกว่า ซึ่งตรงกับผลงานการวิจัยของ แคธี่ซิลเวียนักวิจัยคณะจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในเรื่องความสัมพันธ์เชิงซ้อน เกี่ยวเนื่องระหว่างการก้าวหน้าของเด็ก ชนิดของเล่นที่ให้กับเด็ก และเวลาที่พ่อแม่เล่นกับลูก พบว่าของเล่นที่มากชิ้นแทนที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก กลับทำให้เด็กลดความสนใจของเล่นลง และใช้เวลากับของเล่นไม่นานนัก จนไม่สามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของของเล่นชิ้นนั้นได้


ประเทศอังกฤษมีการทำวิจัยว่า ผู้ปกครองซื้อของเล่นเป็นจำนวนเงินถึง 1.67 พันล้านปอนด์ต่อปี เฉลี่ยปีละ 139 ปอนด์ต่อเด็ก 1 คน ในจำนวนนี้เป็นของเล่นที่ซื้อมาแล้วเด็กไม่ได้เล่น ตีเป็นเงินถึง 5 พันล้านปอนด์


Mr.Orhan Ismail นักวิจัยจากประเทศอังกฤษ สังเกตพฤติกรรมจากลูกของตนเองว่า เมื่อได้ของเล่นหลายชิ้นจะเล่นปุ๊บปั๊บแล้วเลิก หันไปหาอย่างอื่นเล่นแทน เช่น รองเท้าแตะใส่เดินในบ้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในของใช้ที่มีอยู่ทั่วไปในบ้าน


มีผู้แสดงความเห็นว่า การกระตุ้นให้ลูกออกไปวิ่งเล่นข้างนอกบ้านจะดีกว่า แต่ถ้าอยู่ในบ้าน การให้เล่นกล่องกระดาษจะดีกว่าตุ๊กตาบาร์บี้ เพราะกล่องกระดาษช่วยให้ลูกสามารถสร้างจิตนาการเอาเองได้มากกว่าเนื่องจาก จะสมมติเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่ความนึกคิดของเด็ก ในขณะที่ตุ๊กตาบาร์บี้ที่มีชุดแต่งตัวเป็นทันตแพทย์ ก็จะหยุดจินตนาการของเด็กเพียงแค่นั้นนอกจากนี้มีงานวิจัยที่รวบรวมเป็นหนังสือช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ว่าวิธีดังกล่าวช่วยสร้างให้เด็กมีความภาคภูมิใจ เชื่อมั่นในตนเอง และในทางกลับกัน หากเด็กใช้เวลามากเกินไปกับการเล่น เช่น เด็กที่ติดเกมส์คอมพิวเตอร์ จะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างจิตนาการของเด็กจำกัดหรือลดน้อยลงด้วย


ฉะนั้นของเล่นที่มากเกินไป รวมถึงเวลาในการเล่นของลูก ไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพทางปัญญาของลูกได้ หากขาดคุณภาพ ซึ่งในที่นี้ก็คือคุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องคอยดูแลเอาใจใส่เล่นกับลูก เพราะถึงแม้คุณจะมีเวลาไม่มาก แต่ถ้าเวลาเหล่านั้นผ่านไปอย่างมีคุณภาพ เด็กได้เล่นและเรียนรู้อย่างพอดีไปในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้ช่วงเวลาที่เกิดประโยชน์สูงสุดได้ค่ะ



7 เรื่องที่แม่ต้องรู้เมื่อซื้อของเล่น
1. เหมาะสมตามวัย ตรงกับวัยหรือพัฒนาการของลูกหรือไม่ การเลือกซื้อของเล่นที่ยากหรือง่ายเกินไปสำหรับเด็ก เด็กจะไม่เล่น ดังนั้น พ่อแม่ต้องเข้าใจว่าลูกมีพัฒนาการอย่างไร และเลือกซื้อของเล่นที่ท้าทายความสามารถเด็กพอสมควร

ไม่ควรประหยัด ซื้อของเล่นที่เกินวัยเพื่อหวังว่าเขาจะสามารถใช้ได้จนโต เช่น คุณซื้อภาพจิ๊กซอว์หรือเลโก้สำหรับเด็ก 5 ขวบ ให้เด็ก 3 ขวบ ซึ่งความยากง่ายของการต่อนั้นจะต่างกัน นอกจากเด็กจะทำไม่ได้แล้วเขาอาจเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ชอบของเล่นประเภทนี้ไปเลยก็ได้

2. ความเหมาะสมของวัสดุ วัสดุที่ใช้ในการทำจะต้องปลอดภัยไม่มีสารที่เป็นอันตรายกับเด็ก ไม่มีเหลี่ยมคมทำให้เกิดบาดแผล ต้องเป็นสีที่ไม่อันตราย (non-toxic) เพราะสีบางอย่างอาจผสมสารตะกั่ว สารปรอท หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีส่วนแหลมคมที่จะเป็นอันตรายให้กับเด็ก หรือของเล่นที่เป็นวัสดุเล็กๆ สามารถถอดได้ เพราะบางทีอาจจะหลุดเข้าปาก ทำให้เด็กสำลักติดคอ เป็นอันตรายได้เช่นกัน

3. ก่อให้เกิดทักษะในการพัฒนา ถึงแม้ว่าของชิ้นนั้นจะมีความวิเศษสักเพียงใด แต่หากขาดการเล่นด้วยวิธีที่ถูกต้อง ความวิเศษนั้นก็ไม่ส่งผลอะไรกับเด็ก

4. ควรให้เด็กได้เป็นศูนย์กลางของการเล่น ของเล่นที่ดีจะต้องเป็นของเล่นที่เด็กสามารถใช้จิตนาการในการเล่นได้ เด็กเป็นผู้กำหนดบทบาทและวิธีการเล่นด้วยตนเอง แทนการกดปุ่มให้ของเล่นนั้นแล่นไปตามกลไกที่ตั้งไว้ ตัวอย่างของเล่นที่เด็กเป็นศูนย์กลางในการเล่น เช่น บล็อคไม้ เลโก้

5. เด็กจะต้องเล่นด้วยความสนุกสนาน ตรงกับความพอใจของเด็กพ่อแม่ต้องเข้าใจว่าลูกชอบและสนใจด้านไหน และไม่ควรบังคับให้ลูกเล่นของเล่นที่แม่ซื้อมา โดยที่ลูกไม่อยากเล่น เพราะของเล่นชิ้นนั้นๆ อาจจะไม่เหมาะกับวัยที่จะทำให้สนใจเล่นก็ได้

6. เกิดความสนใจของเด็กโดยตรง ลูกอาจจะชอบปั้นรูปสัตว์ที่เคยเห็นจากหนังสือ คุณอาจจะพาลูกไปสวนสัตว์เพื่อดูสัตว์จริงๆ


7. ราคาที่เหมาะสม ของเล่นบางชนิดไม่จำเป็นที่จะต้องมีราคาแพงถึงแม้ว่าของเล่นนั้นจะราคาเพียง 10 บาท หรือ 20 บาท แต่มันสามารถที่จะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ คุณแม่อาจจะประดิษฐ์ของเล่นขึ้นเอง เช่น นำขวดยาสระผมมาล้างให้สะอาดจากนั้นใส่กรวด เพื่อให้เด็กเขย่าให้เกิดเสียง สำหรับเด็กเล็ก สิ่งเหล่านี้ก็เป็นของเล่นที่ทำให้ลูกสนใจได้ไม่น้อย

บทความ ของเล่น สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก ๆ (ตอนที่ 1)

http://www.toyandkidmania.com/article/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B9%86-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1



ของเล่น สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก ๆ (ตอนที่ 1)




วัยเด็กของทุกคน มีสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนเพื่อนก้าวผ่านข้ามวันเวลาอันสดใส นั่นก็คือ “ของเล่น”

บางครั้ง คนมักคิดว่าของเล่นไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญสักเท่าไร แต่ที่จริงแล้วของเล่นมีคุณค่าและความหมายมากกว่าที่หลายคน

คาดคิด เพราะเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย


พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม กล่าวว่า ของเล่นมีความสำคัญ แต่ไม่ได้หมายถึงว่า

พ่อแม่ต้องซื้อของเล่นแพงๆ ให้ลูกเล่น “ของเล่นอาจจะเป็นแค่ลูกปิงปองมาห่อผูกทำเป็นตุ๊กตา เหมือนตุ๊กตาไล่ฝนของญี่ปุ่น

หรืออาจเป็นหนังสติ๊กเอามาร้อย หรือแค่กระดาษเปล่าๆ ก็สามารถนำมาเป็นของเล่นได้ นั่นหมายถึง การเล่นของเด็ก

ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าของเล่นนั้นคืออะไรและอีกสิ่งที่สำคัญมากคือคนที่เล่นกับเด็กจะต้องมีเทคนิควิธีเล่นกับเด็กที่เหมาะสมด้วย”


เห็นไหมล่ะว่า เด็กแต่ละวัยก็มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันไป บางครั้งบางคราวของเล่นของแต่ละวัย

ก็มีความคาบเกี่ยวกันอยู่เหมือนกัน จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องคอยสังเกตพัฒนาการของลูกน้อยแล้วก็พยายามเลือกสรร

ของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย


คุณหมอยังได้แนะนำด้วยค่ะว่าถ้าพ่อแม่ไม่แน่ใจว่าจะเลือกอะไรให้ลูกดีก็สามารถลองปรึกษาผู้รู้หรือหาอ่านตามหนังสือเอาก็ได้

และก็ไม่จำเป็นต้องหาซื้อแต่ของเล่นที่แพงๆ เท่านั้น


“ยุคสมัยนี้มีเครื่องเล่นมากมายที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก แต่บางครั้งพ่อแม่กลับไม่รู้ว่าจะเลือกของเล่นให้ลูกได้อย่างไร

…ถ้าจะพูดกันจริงๆ แล้ว การที่เด็กจะเกิดการพัฒนาจากการเล่นนั้น พ่อแม่จะต้องเลือกของเล่นที่ไม่ง่ายและไม่ยากเกินไป

มีความท้าทายให้เขานิดๆ เพราะถ้าง่ายไป เด็กจะเบื่อ แต่ที่สำคัญที่สุดควรจะมีคนเล่นกับเด็กเพราะถึงแม้ของเล่นจะดี

จะแพงแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีคนเล่นด้วย เด็กก็จะไม่เล่น”




การเล่นเพื่อช่วยเสริมพัฒนาการ

หากจะแบ่งช่วงวัยและพัฒนาทักษะให้แก่เด็กเล็กอย่างง่ายๆ แล้ว คุณหมอบอกว่า แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 0-18 เดือน

และ 18 เดือน-3 ปี


“ช่วง 0-18 เดือน เรียกว่าวัยทารก เป็นวัยที่เด็กเรียนรู้และสำรวจโลก การพัฒนาเด็กจะต้องให้เขาได้พัฒนาระบบประสาท

สัมผัสทั้ง 5 และการเคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่น ในช่วง 9 เดือน เด็กจะเริ่มเข้าใจว่าสิ่งของต่างๆ ยังคงมีอยู่แม้ว่าจะหายไปจาก

ที่เขาเห็น เช่น เมื่อเรายื่นตุ๊กตาให้เขาพอเขาจะเอื้อมมาหยิบ เรารีบเอาผ้าอ้อมปิดไว้ เขาจะดึงผ้าขึ้นเพื่อค้นหาตุ๊กตา

วัยนี้จึงชอบเล่นจ๊ะเอ๋ เมื่อถึงช่วง 10-12 เดือน กล้ามเนื้อมือของเด็กจะดีขึ้น เราก็ลองให้เด็กเริ่มเอาของชิ้นเล็กใส่ถ้วย

ใส่กล่อง หัดเทของออก แล้วเก็บเข้าใส่กระป๋อง


…จากนั้นพอ 18 เดือนจึงค่อยเริ่มสอนให้เขารู้จักอวัยวะ สัตว์ต่างๆ ดูภาพในลำดับที่ยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กเติบโตขึ้น

ก็จะมีจิตนาการมากขึ้น เขาอาจจะเล่นทำครัวขายของ เลี้ยงน้องตุ๊กตา พ่อแม่เป็นผู้ที่มีบาบาทสำคัญที่สุด

ในการเฝ้าสังเกตพัฒนาการของลูก โดยควรศึกษาหรือหาอ่านเพิ่มเติมจากหนังสือต่างๆ หรือสอบถามแพทย์หรือคุณครู”
อีกสิ่งหนึ่งที่คุณหมอแนะนำก็คือ พ่อแม่ต้องให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจากของจริง โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก
“ช่วงเล็กๆ เด็กจะเรียนรู้โดยผ่านระบบประสาทสัมผัสต่างๆ จากของจริง อย่างเช่น เขาจะรู้ว่าวัสดุชิ้นไหนนิ่ม หรือแข็ง

การมองเห็นวัตถุต่างๆ การรับกลิ่น รับรสชาติและการฟัง จากทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของเปียเจต์บอกไว้ว่า

เด็กจะเรียนรู้โลกโดยผ่านระบบประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว


อย่างช่วงเล็กๆ ที่เด็กเริ่มถีบขาได้แล้ว ถ้าหากเราติดโมบายไว้ให้เขา แล้วเด็กบังเอิญถีบขาไปโดนโมบาย

แล้วเกิดการเคลื่อนไหว เด็กจะเริ่มเรียนรู้ว่า ถ้าทำอย่างนี้โมบายจะแกว่งไปมา เด็กก็จะถีบขาเพื่อให้มันแกว่ง

เกิดการเรียนรู้ไปโดยปริยาย”


การเล่นเพื่อพฤติกรรมที่เหมาะสม

ในบางช่วงเวลา เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งถือเป็นพัฒนาการตามวัย อย่างเช่น

การที่เด็กไม่ยอมรับประทานอาหาร คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจใช้วิธีบังคับลูก หรือบางคนอาจจะโอ๋เด็กถึงขนาดที่ว่า

ต้องคอยวิ่งตามป้อนข้าวป้อนน้ำไปเสียทุกที่ ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้องนัก


อันที่จริงแล้วเราสามารถนำการเล่นมาใช้เพื่อปรับพฤติกรรมของลูกได้ พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความสุข

ด้วยการนำตุ๊กตามาเล่นบทบาทสมมติว่ากำลังจะกินข้าวเหมือนกัน เด็กก็จะรู้สึกว่ามีเพื่อนกิน เขาจะรู้สึกสนุก

หรืออย่างบางทีลูกทำตัวไม่น่ารัก ไม่เหมาะสม ก็สามารถแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมผ่านไปทางตุ๊กตา

ให้ลูกรับรู้ได้ว่า พี่ตุ๊กตาทำอย่างนี้ คือน่ารัก


“นอกจากนี้เด็กยังสามารถแสดงความรู้สึกหรือประสบการณ์ที่เขาได้ผ่านการเล่น อย่างถ้าเขาอยู่โรงเรียน

ต้องฟังครูสอน พอกลับมาบ้านเขาอาจจะทำทีท่าเป็นครูสอนตุ๊กตาอีกที เป็นการทบทวนประสบการณ์

ที่ได้รับมา โดยเด็กจะสลับบทบาทด้วยการทำตัวเป็นครูสอนเองบ้าง พ่อแม่ก็จะสามารถรู้ได้ถึงสิ่งที่เด็ก

ต้องประสบพบเจอมาได้จากการเล่นของเขา” พญ. นลินี กล่าว

บทความสื่อ: ประโยชน์ของนิทาน เพลง คำคล้องจอง

http://www.la-orutis.dusit.ac.th/research4.php


บทความสื่อ: ประโยชน์ของนิทาน เพลง คำคล้องจอง


โดย: สดใส โชติกเสถียร

จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้อยู่ที่สมอง
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้เชื่อว่าหลายคงเคยได้ยินเรื่องสมองมาบ้าง คนส่วนใหญ่ชอบเปรียบเทียบว่า สมองของเด็กเมื่อครบกำหนดคลอดเปรียบเสมือนฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นฮาร์ดแวร์ที่มีคุณภาพต่อเมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งแวดล้อมเปรียบเสมือนซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนั่นเอง สมองของเด็กจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ซึ่งจะทำให้สมองมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อขึ้นอีกจำนวนมากมาย ยิ่งสมองมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อมากขึ้นเท่าไหร่ เด็กก็จะฉลาดขึ้นมีความสามารถมากขึ้นเท่านั้น

สมองเริ่มพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกเดือนของระยะตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์เริ่มเข้าสู่เดือนที่ห้าโครงสร้างแต่ละส่วนของสมองเริ่มสมบูรณ์ ผิวของทารกไวต่อการสัมผัส ทารกเริ่มควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้ ในเดือนที่หกและเจ็ดสมองมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจำนวนเซลสมอง ใยสมองและจุดเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น แต่ผิวสมองยังไม่มีรอยหยักยังคงราบเรียบ เข้าสู่ระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์สมองเริ่มมีรอยหยักมากขึ้นเพื่อรับข้อมูล เซลล์สมองและวงจรประสาททำงานประสานกันอย่างสมบูรณ์

ในปัจจุบันมีข้อมูลความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของสมองกับการพัฒนาเด็ก สมองแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ต่างกัน อาทิ สมองส่วนหลังจะเป็นส่วนที่ควบคุมการมองเห็น สมองส่วนกลางควบคุมเรื่องการฟัง การรับรู้กลิ่นและการสัมผัส สมองส่วนหน้าควบคุมการเคลื่อนไหว และการคิด กล่าวก็คือสมองควบคุมประสาทสัมผัสทั้งห้าหรือประสาทรับรู้ขั้นพื้นฐานนั่นเอง เก้าเดือนของการตั้งครรภ์ประสาทสัมผัสด้านต่างๆก็เริ่มพัฒนา และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สมองส่วนใดพัฒนาเมื่อไหร่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้ เนื่องจากการตอบสนองการกระตุ้นสมองในช่วงที่กำลังพัฒนาจะยิ่งทำให้ใยประสาทส่วนที่ได้ใช้หนาตัวขึ้นสมองยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากไม่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมสมองส่วนที่ไม่ได้ใช้ก็จะถูกตัดทอนลง 

ช่วงเวลาใดที่สมองพัฒนา
ทารกสามารถรับรู้รส เมื่อ 14 สัปดาห์ในครรภ์ ความสามารถด้านการฟังเริ่ม เมื่อ 16 สัปดาห์ 20 สัปดาห์ในครรภ์สามารถตอบสนองต่อเสียงนอกมดลูก สัปดาห์ที่ 24 เริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก 28 สัปดาห์เริ่มมีปฎิกิริยาต่อแสงและความสามารถด้านการจำก็เริ่มพัฒนาขึ้นด้วย ถ้าใครเคยมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ต้องเคยได้รับคำแนะนำจากคุณหมอเช่นเดียวกับผู้เขียน และขอถือโอกาสเล่าให้คนที่ไม่มีประสบการณ์ฟังถึงสิ่งที่คุณหมอแนะนำ คือ ให้พ่อแม่หมั่นพูดคุยกับทารกในท้อง เปิดเพลง หรือร้องเพลงให้ทารกฟังเป็นประจำ เป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการฟัง ในช่วงนั้นเวลาขับรถ ผู้เขียนก็จะเป็นเปิดเพลงบรรเลงที่มีจังหวะและทำนองทำให้ตนเองเพลิดเพลินไม่ง่วง ช่วงเย็นหลังเลิกงานเป็นเวลาที่ต้องการพักผ่อนก็จะฟังเพลงบรรเลงกีต้าร์คลาสสิกเบาๆ พอประมาณ เดือนที่ 7 ก็มีกิจกรรมส่องไฟฉาย บริเวณผนังหน้าท้อง ช่วงนี้ครรภ์จะมีขนาดใหญ่ ผนังหน้าท้องขยายทำให้แสงส่องผ่านไปถึงทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นการกระตุ้นการมองเห็นของทารก ปฏิกิริยาตอบสนองว่าทารกมองเห็นคือจะดิ้นหนีแสงไฟที่รบกวน ผู้เขียนทำเช่นนี้จนคลอด และหลังคลอดกิจกรรมยังคงมีอย่างต่อเนื่องคือการฟังดนตรี สิ่งมหัศจรรย์ที่พบคือ ลูกเป็นเด็กเลี้ยงง่ายกินอิ่มเปิดดนตรีบรรเลงให้ฟังเบาๆ ก็หลับ จะตื่นอีกทีเมื่อหิว นอนหลับช่วงกลางคืนเป็นเวลานานไม่ร้องกวนกลางดึก อีกสิ่งที่ลูกทำได้ตั้งแต่เดือนแรกคือขณะนอนคว่ำสามารถพลิกศีรษะไปทางซ้ายและขวาได้เอง มีพัฒนาการด้านร่างกายเร็วกว่าเด็กวัยเดียวกันเดินได้เองเมื่อ 10 เดือน เมื่อลูกอายุ 5 ขวบมีทักษะด้านการฟัง จำแนกแยกแยะเสียงที่ได้ยินดีมาก เสียงอะไรเบาๆก็ได้ยิน บางครั้งฟังเพลง 1 – 2 รอบก็สามารถฮัมทำนองเพลงได้ถูกจังหวะ ไม่ผิดคีย์ และหลายครั้งที่ดูหนังซึ่งจะมีเสียงดนตรีประกอบเบาๆไม่มีเนื้อร้อง ซึ่งผู้ใหญ่อย่างเราแทบไม่ได้ยินเนื่องจากไม่ได้สนใจเพราะมีสมาธิอยู่ที่เนื้อเรื่อง แต่ลูกกลับฮัมทำนองตามหรือพูดว่าเพลงนี้หนูเคยได้ยินที่....... ประสบการณ์ตรงที่ผู้เขียนนำมาเล่ายืนยันให้เห็นว่า ประสาทรับรู้ขั้นพื้นฐานถ้าได้รับการกระตุ้นตั้งแต่ในครรภ์จะส่งผลต่อพัฒนาการในวัยต่อมา 

ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง กล่าวว่า ใยประสาทสร้างมาจำนวนมากก่อนการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ง่าย คือถ้าคนไหนมีเครื่องมือในการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพย่อมเรียนรู้ได้อย่างดี หัวใจสำคัญในการพัฒนาเด็กคือทำอย่างไรให้เด็กมีเครื่องมือในการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพ สอนอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกเพลิดเพลินสอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย สิ่งที่จะกล่าวต่อไปบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กจำเป็นจะต้องรู้ เนื่องจากการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กควรทำให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่ควบคุมพัฒนาการด้านต่างๆ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี


สมองส่วนใดทำงานเมื่อไหร่
          0 – 2 ปี สมองที่ควบคุมส่วนการมองเห็น การฟัง การรู้สัมผัส
          3 – 5 ปี สมองที่ควบคุมส่วนภาษา การฟัง การพูด และกล้ามเนื้อเล็ก กำลังพัฒนา 
          6 – 12 ปี สมองควบคุมส่วนพัฒนาการทางสังคม 
          12 – 25 ปี สมองส่วนหน้าสุดควบคุมพฤติกรรมทางสังคม การคิดอย่างมีเหตุผล
เห็นได้ว่า ถ้าจะพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพควรพัฒนาสิ่งที่สอดคล้องกับการรับรู้ของสมอง อาทิ วัย 0 - 2 ปี ถ้าเด็กได้รับการพัฒนาด้านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้สิ่งต่างๆได้แก่ประสาทสัมผัสในการมองเห็น การฟังเสียงจดจำและจำแนกแยกแยะเสียงที่ได้ยิน การับรู้รสชาติ รับรู้กลิ่น และสัมผัสต่างๆ มากเท่าไหร่ก็จะทำให้เด็กมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้สิ่งรอบตัวในวัยต่อมา เรียกได้ว่าเป็นการเปิดประตูสู่ปัญญาให้กับเด็กเลยทีเดียว และเมื่อเด็กได้เตรียมพร้อมด้านการใช้ประสาทรับรู้ขั้นพื้นฐานมาดีพอวัย 3 – 5 ปี เด็กควรได้รับการส่งเสริมด้านภาษา จินตนาการ และการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ควรได้รับการสนับสนุนด้วยกิจกรรมสนุกๆที่ให้เด็กได้เล่น ได้เคลื่อนไหวได้ใช้มือไม้หยิบจับสิ่งต่างๆ รวมทั้งได้ฝึกฝนการใช้ภาษาในการพูดสื่อสารกับบุคคลอื่น ภาษาจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ศาสตร์ด้านอื่น ภาษามิใช่แค่ฟัง พูดเท่านั้น เด็กยังต้องพัฒนาไปสู่การอ่านการเขียน ภาษาจึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสติปัญญาของเด็ก ที่กล่าวมาเพียงเพื่อให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาภาษาซึ่งมีลำดับขั้น อีกทั้งวิธีการสอนภาษาให้สนุกเพลิดเพลินและได้ความรู้ไปพร้อมกันในวัยเด็ก ต้องอาศัยสื่อที่เด็กสนใจ เช่น นิทาน เพลง คำคล้องจอง การเล่นบทบาทสมมติ ซึ่งต้องเลือกใช้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กแต่ละวัย 

พัฒนาการทางภาษาเริ่มอย่างจริงจังเมื่อไหร่ 
         อายุ 1 - 2 ปี เด็กเริ่มหัดฟังและหัดเลียนเสียงต่างๆที่ได้ยิน เช่น เสียงพ่อ-แม่ เสียงสัตว์ เสียงที่ได้ยินในชีวิตประจำวัน 
         อายุ 2 – 4 ปี เด็กเริ่มเข้าใจสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย พูดเป็นคำ มีจำนวนคำศัพท์มากขึ้น เริ่มพูดเป็นประโยค มีคำนำหน้ามีคำเชื่อมประโยค 
         อายุ 4 – 5 ปี เริ่มเล่นสนุกกับ สามารถคิดคำ สร้างประโยค ประสมคำ 
         อายุ 5 – 6 ปี เด็กเริ่มใช้ไวยากรณ์อย่างง่าย ใช้ประโยคบอกเล่าประโยคคำถาม ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆรอบตัว ใช้ภาษาสื่อความหมายในสิ่งที่ตนรับรู้ได้อย่างดี 
         6ปีขึ้นไป มีความสามารถทางภาษาเพิ่มขึ้นเข้าใจสำนวนภาษา การพูดเปรียบเทียบ การพูดที่เป็นนามธรรมมากขึ้น 

นิทาน เพลง และคำคล้องจอง สื่อสำคัญในการพัฒนาภาษา 
นิทาน หมายถึง เรื่องเล่า มีการผูกเรื่องราว มีตัวละคร มีเหตุการณ์ในการดำเนินเรื่อง นิทานอาจมีเค้าโครงจากเรื่องจริง จินตนาการ ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ มีการแทรกเกร็ดความรู้ต่างๆในเนื้อเรื่อง 

นิทานสำหรับเด็ก หมายถึง เรื่องราวที่แต่งขึ้นหรือผูกขึ้นเพื่อนำมาเล่าหรือถ่ายทอดสู่เด็ก ด้วยเทคนิกวิธีการต่างๆ โดยมีจุดประสงค์เฉพาะเจาะจงเพื่อเด็ก นิทานยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกทักษะ เตรียมพร้อมในการเรียนของเด็กปฐมวัย วัตถุประสงค์ของการเล่านิทานเพื่อการพัฒนาและเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัยมี ดังนี้ 

         • ตอบสนองความต้องการทางธรรมชาติของเด็ก 
         • ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความสุข ผ่อนคลายอารมณ์เครียด
         • ส่งเสริมให้เด็กมีสมาธิโดยใช้นิทานเป็นสื่อช่วยยืดช่วงความสนใจของเด็กให้นานขึ้น
         • ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ซึ่งอาจแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง
         • ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ทางภาษา เรียนรู้คำศัพท์ใหม่และการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
         • เสริมประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ที่เหมาะสมกับวัย
         • ให้เด็กได้แสดงออก กล้าซักถาม และแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
         • ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ
         • เตรียมความพร้อมทางภาษาทุกด้านทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน 
         • กระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจหนังสือ คุ้นเคยกับหนังสือ ส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่าน
         • พัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก เด็กกับเด็ก
         • พัฒนาด้านการคิด สามารถรับรู้สิ่งที่ฟังและถ่ายทอดเรื่องราวที่ฟังให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามวัย
         • ใช้นิทานเป็นสื่อในการลดและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

เห็นได้ว่าความสำคัญของนิทาน มีมากมาย ดังนั้นการอ่าน การเล่านิทาน จึงเป็นกิจกรรมที่มองข้ามไม่ได้สำหรับบุคคลที่ต้องเกี่ยวข้องกับเด็ก อาทิ พ่อแม่ ครู หรือผู้ดูแล วิธีการเล่า การนำเสนอนิทานนั้นต้องคำนึงว่า เล่าอย่างไรเด็กถึงจะสนุก สนใจ เกิดจินตนาการและเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน รวมทั้งเลือกนิทานอย่างไรให้เหมาะกับวัยของเด็กไม่ใช่เรื่องยากแต่เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเท่านั้น

เลือกนิทานให้เหมาะกับวัย 
ทารกในครรภ์นิทานอะไรก็ได้แต่ขอให้เป็นเสียงของพ่อแม่ที่เล่าให้ลูกฟัง หาช่วงเวลาสบายๆที่แม่กำลังพักผ่อน ภาวะจิตใจสงบไม่มีสิ่งรบกวนแล้วเริ่มเล่านิทานให้ลูกฟัง
1-6 เดือนหนังสือนิทานต้องปลอดภัยคำนึงถึงวัสดุที่นำมาทำ เช่น หนังสือผ้านุ่มๆมีสีสันสวยงามสะดุดตา  กระตุ้นสัมผัสของเด็กด้วยวัสดุต่างๆเช่นผ้าสำลี ผ้าสักหลาด ผ้าดิบ หรือใส่วัสดุข้างในให้แตกต่างเมื่อขยำ เขย่าแล้วเกิดเสียง ไม่อันตรายเมื่อเด็กนำเข้าปาก
6- 12 เดือนยังคงต้องเลือกหนังสือที่ทำจากวัสดุที่ปลอดภัยเด็กเริ่มนั่งได้
สนใจมองภาพสีสวยงามชัดเจนไม่ต้องมีรายละเอียดมาก  อาจอุ้มเด็กนั่งฟังนิทานบนตัก หรือช่วงที่เด็กอาบน้ำเป็นช่วงที่เด็กตื่นตัวเลือกเล่านิทานลอยน้ำ(ทำจากพลาสติกหรือยาง) ก็ทำให้เด็กสนใจและเพลิดเพลินได้เป็นอย่างดี
1 - 2  ขวบหน้าหนังสือต้องหนาแข็งแรงคงทน  ไม่ต้องมีตัวหนังสือมากภาพชัดเจนเด็กมองภาพแล้วสามารถรู้เรื่องราว จำนวนหน้าไม่ควรเกิน 10 หน้า เช่น หนังสือชุดรวมเรื่องเอกของโลก สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก  ทุกเล่มจะใช้น้องหมีเป็นสื่อ อาทิน้องหมีสวัสดี น้องหมีขี่เป็นนะ น้องหมีมอมแมม
2 - 3  ขวบนิทานยังคงต้องมีลักษณะที่คงทน  มีเทคนิคพิเศษในเล่มเพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น มีภาพซ่อนอยู่ด้านหลังประตู  มีเสียง  หรือเด็กสามารถหยิบใส่ส่วนประกอบของหนังสือได้ เนื้อเรื่องต้องสั้นมีตัวละครไม่มากเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเด็ก ส่งต่างๆรอบตัว เช่น ครอบครัว เพื่อน การปรับตัว การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง
3 - 4  ขวบเด็กวัยนี้เริ่มเปิดหนังสือได้ทีละแผ่น  สนใจฟังเรื่องราวที่ยาวขึ้น จะเล่าหรืออ่านก็ได้  เนื้อเรื่องต้องเข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อนเด็กชอบเรื่องมหัศจรรย์  ยิ่งถ้ามีคำซ้ำๆ เด็กยิ่งสนุกเมื่อได้ฟังหรือพูดตาม เช่นเรื่องแมวยายปุ๋ง สำนักพิมพ์พิมพ์ดี  ยายเช้ากลืนช้าง  บ้องแบ๊ว สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก เป็นต้น นิทานเป็นสื่อที่ดียิ่งสำหรับวัยนี้ที่เริ่มเรียนรู้ว่าตัวหนังสือมีความสำคัญในชีวิตประจำวัน เด็กที่ชอบนิทาน จะเริ่มสนใจการอ่านโดยแรกๆชอบให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง  แล้วจึงอยากอ่านเองบางครั้งเด็กหยิบนิทานที่ชอบมาอ่านเองตามที่เคยได้ฟังมา
5 - 6  ขวบเด็กสนใจและสามารถฟังนิทานที่มีเนื้อเรื่องยาวขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น เข้าใจเนื้อเรื่องเชิงส่งเสริมของคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเริ่มหัดอ่านสะกดคำง่ายที่คุ้นเคยได้บ้าง  ดังนั้น ขนาดของตัวหนังสือในนิทานต้องไม่เล็ก  เด็กสามารถเห็นได้ชัดเจน มีการเว้นช่องไฟระหว่างคำแต่ละคำ  ตัวอย่างเช่น  หนังสือชุด เสียง สระ แสนสนุก ราชากะฤาษี สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก

เมื่อเลือกนิทานได้เหมาะกับวัยเด็กแล้ว การเล่าการนำเสนอนิทานให้เด็กสนใจ จะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของผู้เล่า เช่น ลีลา น้ำเสียง ใช้เทคนิกต่างๆประกอบการเล่า 

องค์ประกอบในการเล่านิทานให้สนุก

ลีลาท่าทางของผู้เล่า
ก่อนอื่นผู้เล่าต้องอ่านนิทานและทำความเข้าใจในเนื้อเรื่องมาเป็นอย่างดี จดจำ เนื้อเรื่องได้อย่างแม่นยำ บุคลิกท่าทางของผู้เล่าก็สำคัญต้องดูเป็นกันเองกับผู้ฟังอยู่ในท่าสบายๆ มีจังหวะในการพูดเว้นวรรคตอนให้ดี ใช้เสียงสูงต่ำ ดัง- เบา ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ไม่ใช้น้ำเสียงระดับเดียวที่ดูราบเรียบ หรือเสียงแหลมจนไม่น่าฟัง นิทานจะน่าสนใจมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเทคนิคของผู้เล่า 

การจับหนังสือ
การจับหนังสือควรจับบริเวณรอบพับของเล่มนิทานดัวยมือข้างที่ถนัด จะเป็น ด้านบนหรือด้านล่างของหนังสือก็ได้ ระวังอย่าให้มือไปบังภาพบนหน้าหนังสือ ใช้มืออีกข้างช่วยเปิดหนังสือทีละแผ่น ยกหนังสืออยู่ระดับสายตาผู้ฟัง ไม่เคลื่อนไหวหนังสือไปมาขณะการเล่านิทาน 

การจัดที่นั่งสำหรับผู้ฟัง
ผู้ฟังนั่งหันหน้าหาผู้เล่า ถ้าเป็นกลุ่มเล็กนั่งรวมกันห่างจากผู้เล่าตามความเหมาะสมให้เห็นภาพในหนังสือชัดเจน ไม่นั่งออกไปทางด้านข้างจะทำให้มองไม่เห็นหนังสือ ในกรณีที่ผู้ฟังมาก ให้นั่งหันหน้าหาผู้เล่าเป็นครึ่งวงกลมก็ได้

เทคนิคการเล่านิทาน
การเล่านิทานทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เล่านิทานโดยใช้หนังสือ ไม่ใช้หนังสือแต่ใช้อุปกรณ์อย่างอื่นประกอบการเล่า เล่าปากเปล่าหรือใช้ท่าทาง ร้องเพลงประกอบ เล่าโดยใช้หุ่นมือ หุ่นนิ้ว หุ่นชัก เล่าไปวาดไปหรือพับกระดาษ ใช้กระดานหรือแผ่นป้ายสำลีประกอบการเล่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้นิทานน่าสนใจยิ่งขึ้นตัวอย่างการเล่านิทาน

เล่านิทานโดยใช้เพลงประกอบ
นิทานเรื่อง “ ขนมปังกลม กลิ้ง กลิ้ง” สำนักพิมพ์ แพรวเพื่อนเด็ก ผู้เล่าใช้หนังสือประกอบการเล่า พอถึง ช่วงที่ขนมปังกลม ร้องเพลงให้สัตว์แต่ละตัวฟังผู้เล่าก็สามารถใส่ทำนองลงไปแล้วร้องเป็นเพลง หรือให้เด็กมีส่วนร่วมในการเล่าเช่น ถ้าครูพูดคำว่ากลิ้ง หลุน หลุนให้เด็กหมุนมือไปตามเสียงช้าเร็วที่ได้ยิน 

เล่านิทานประกอบการใช้ท่าทางของผู้เล่า และผู้ฟังมีส่วนร่วมในการเล่า
นิทาน เรื่อง “หัวผักกาดยักษ์” สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก เล่าโดยยืนถือหนังสือเมื่อถึงตอนดึงหัวผักกาด ผู้เล่าต้องทำท่าเหมือนกำลังดึงหรือถอนเจ้าหัวผักกาดอย่างเต็มแรง เมื่อถอนไม่ได้ตาจึงเรียกยายมาช่วยในตอนนี้ให้ขออาสาสมัครเด็กหนึ่งคนออกมาเป็นยายจับเอวผู้เล่าแล้วทำท่าช่วยกันดึงเจ้าหัวผักกาด เมื่อถึงตอนตามหลาน ตามหมา ตามแมว ตามหนูมาช่วย ก็ค่อยๆหาอาสาสมัครออกมาจับเอวต่อๆกันจนกระทั่งถอนหัวผักกาดออก 
นิทานเรื่อง “ พระจันทร์อร่อยไหม” สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก ครูเล่านิทานประกอบภาพในหนังสือ เมื่อครูเล่านิทานจบ ให้เด็กวาดภาพสัตว์ที่ชอบและนำสัตว์ทุกตัวที่เป็นผลงานเด็ก มาแต่งให้เป็นเรื่องราวเดียวกันภายใต้โครงเรื่องเดิม ครูต้องหาพื้นที่ภายในห้องให้เด็กที่เป็นตัวละครออกมาติดภาพสัตว์ต่อตัวกัน เล่านิทานประกอบการพับ ฉีกกระดาษ หรือวาดภาพ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือ เล่าไปวาดไป กับเทคนิคการเล่านิทาน ของสำนักพิมพ์ แพรวเพื่อนเด็ก 
มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับการอ่านหนังสือให้เด็กฟังหลายต่อหลายเล่มพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการอ่านหนังสือให้ฟังบ่อยๆไม่เพียงแต่จะมีความรู้มีความพร้อมด้านภาษายังทำให้เด็กมีความสามารถด้านการเรียนในภาพรวมของเนื้อหาวิชา การที่ผู้ใหญ่เล่าหรืออ่านนิทานให้ฟังไม่เพียงแต่เป็นการขยายประสบการณ์ หรือเตรียมความพร้อมเด็กเพื่อการอ่านออกเขียนได้ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเด็กได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทาน ทั้งตัวละคร เหตุการณ์ ความหมายของสำนวนภาษาที่ใช้ เกิดการเชื่อมโยงภาษาที่ได้ฟังไปสู่การใช้ในสถานการณ์จริงต่อไป หลังจากเล่านิทานถ้าครูหรือผู้เล่ามีการถามคำถามเลือกระดับคำถาม ให้เหมาะกับพัฒนาการตามวัย พยายามถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้คิดหาคำตอบที่หลากหลายได้แก่คำถามประเภท ทำไม อย่างไร ถ้า......จะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด ฝึกให้เด็กได้เป็นคนตั้งคำถามถามเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน หรือคิดกิจกรรมให้เด็กได้ทำหลังจากจบนิทานโดยครูใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นหรือกำหนดสถานการณ์ เช่น ถ้ายีราฟกับจระเข้แต่งงานกันลูกที่ออกมาจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร หรือ บ้านของยีราฟกับจระเข้น่าจะเป็นแบบไหน เป็นต้น เด็กๆมีวิธีการซ่อนสตรอเบอร์รี่อย่างไรโดยไม่ให้เจ้าหมีเห็น กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยพัฒนาทักษะด้านการคิดของเด็กได้เป็นอย่างดี

เพลงเด็ก อีกกิจกรรมที่น่าสนใจ
เพลงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เด็กสนใจ โดยเฉพาะเพลงเด็กจะประกอบไปด้วยเนื้อเพลงที่มีสัมผัส มีทำนอง มีจังหวะเร็ว-ช้า บางเพลงเป็นเรื่องราวสั้นๆ ใช้ภาษาง่ายๆ อาจแทรกสิ่งที่เป็นความรู้ เช่น ทักษะ สาระที่เด็กควรรู้ คุณธรรม จริยธรรม และเนื่องจากเพลงเด็กไม่มีเนื้อหาซับซ้อน ทำให้เด็กเรียนรู้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลินเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อสารในเนื้อเพลงได้ง่าย จดจำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ การใช้เพลงกับเด็ก อาจแค่ร้องเล่น ทำท่าทาง หรือใช้อุปกรณ์อื่นๆประกอบ ได้ ตัวอย่าง เพลง ที่สอดคล้องกับเรื่องตัวเด็ก 

เพลง หัว ไหล่ เข่า เท้า ( แตะส่วนต่างๆของร่างกาย )
     หัวและไหล่ และเข่าและเท้า เข่าและเท้า เข่าและเท้า 
     หัวและไหล่ และเข่าและเท้า ตา หู จมูก ปาก

เพลง กระโดด ( ทำท่าทางประกอบ )
     กระโดด กระโดด กระโดด กระโดดฉันโปรดมากมาย 
     กระโดด แล้วแสนสบาย ดีใจ ที่ได้กระโดด 
     ลัล ลัล ลา ลัล ลัล ลา ลัล ลัล ลา 
     ลัล ลัล ลา ลัล ลัล ลา ลัล ลัล ลา 
การเลือกใช้เพลงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมของครูจะใช้ในขั้นสอนหรือขั้นนำตามความเหมาะสม นอกจากเพลงแล้วกิจกรรมภาษาที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ยังมี ปริศนาคำทาย และ คำคล้องจอง ซึ่งเป็น คำประพันธ์ มีลักษณะสัมผัสคล้ายโคลงกลอน แต่ใช้ถ้อยคำง่ายๆมีความยาวไม่มาก มีเนื้อหาสาระ คำคล้องจองเป็นกิจกรรมที่ช่วยเตรียมความพร้อมด้านภาษาให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี ทั้ง การฟัง การพูด การอ่าน เด็กจะได้เรียนรู้คำที่มีการสัมผัส การพูดคำคล้องจองเป็นวรรคตอนโดยใช้ระดับเสียงสูงต่ำ ดังเบา ทำให้เด็กจดจำคำได้แม่นยำ เด็กปฐมวัยจะพูดคำคล้องจองอย่างสนุกสนานยิ่งขึ้นถ้าได้ทำเสียงหรือท่าทางประกอบ ในเด็กวัย 5 - 6 ปี ครูสามารถเขียนเนื้อหาคำคล้องจองบนชาร์ทขนาดใหญ่ที่เด็กเห็นได้ชัดเจนเพื่อให้เด็กอ่านประกอบ เด็กจะได้ฝึกการเคลื่อนสายตา รู้ความหมายของคำ เป็นการสร้างประสบการณ์ด้านการอ่าน การเดารูปคำ และการเรียงประโยคให้แก่เด็ก จะใช้คำคล้องจองเมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของครูเช่น ใช้เพื่อเก็บเด็ก(เตรียมเด็กให้สงบ)ก่อนหรือระหว่างการปฏิบัติกิจกรรม, ใช้เป็นสื่อ ใช้เพื่อพัฒนาภาษาและความจำ , ใช้เพื่อความสนุกสนาน ,ใช้เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เป็นต้น

จากข้อมูลและตัวอย่างข้างต้นพอสรุปได้ว่า นิทาน เพลง คำคล้องจอง เป็นสื่อสำคัญในการพัฒนาภาษาที่เหมาะกับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่งเพราะกิจกรรมนิทาน เพลง คำคล้องจองทั้งสนุก น่าสนใจชวนให้ติดตาม ขณะที่เด็กฟัง ร้องเล่นทำท่าประกอบตาม ทำให้เด็กเพลิดเพลิน เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาในอนาคต ในฐานะครูผู้สอนจำเป็นที่จะต้องหมั่นฝึกฝนตนเองให้เป็นนักเล่า นักร้อง สั่งสมเทคนิคต่างๆ ระยะแรกอาจใช้วิธีดูตัวอย่างจากผู้มีประสบการณ์แบบเก็บเล็กผสมน้อย รู้จักนำกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตัวผู้เล่าเอง 

ข้อมูลอ้างอิง

กิติยวดี - อัญญมณี บุญซื่อ. (2549).สอนภาษาอย่างไรให้ลูกเก่ง . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สาราเด็ก.

ปรีดา ปัญญาจันทร์. (2542). คู่มือเล่านิทานเล่ม 1 เล่านิทานอย่างไรให้สนุก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก.

เยาวพา เดชะคุปต์ . (2551).เอกสารประกอบการอบรม เทคนิกการสอนภาษาเด็ก ปฐมวัย . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป . ( 2549 ). คู่มือพัฒนาสมองของลูก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พิมพ์ดี .

บทความ สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนพัฒนาเด็กได้มากกว่าที่คิด

http://www.la-orutis.dusit.ac.th/research6.php

สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนพัฒนาเด็กได้มากกว่าที่คิด

โดย: ดร. สิทธิพร เอี่ยมเสน
รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


เพียงแค่ธรรมชาติที่อยู่รอบๆบ้านเรา
ก็มีสิ่งยั่วยวนใจให้เด็กได้เรียนรู้มากเหลือเกิน
ใบไม้ใบหญ้าที่แกว่งไกวหรือหลุดปลิวไปเพราะแรงลม
การสร้างบ้านที่อยู่อาศัยของมด กลุ่มชีวิตที่อยู่ใต้พื้นดิน
สำหรับเด็กๆ แล้ว สนามธรรมชาติรอบล้อมบ้าน
เป็นโลกแห่งกิจกรรม เป็นบทเรียนวิทยาศาสตร์
บทเรียนวิชาฟิสิกส์ และวิชาธรรมชาติและสีสัน
(Hirsh-Pasek and Golinkoff, 2003)

ในตอนวัยเด็ก นอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียน และช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ แล้ว พวกเราเด็กๆ ก็มักจะมีเวลาว่างมากเพียงพอที่จะสำรวจธรรมชาติที่อยู่รอบๆ บ้าน หรือบริเวณหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ ทุ่งหญ้า ทุ่งนา ป่าหญ้าคา และ อื่นๆ เราสนุกสนานกับการที่ได้ปีนป่ายต้นไม้ใหญ่ นั่งเล่นอยู่บนต้นไม้นั้นเป็นเวลานานๆ ได้เห็นความเป็นอยู่ของเหล่านกใหญ่น้อยทั้งหลาย ที่อาศัยกิ่งก้านสาขาของไม้ใหญ่นี้เป็นที่กำบังจากภัยต่างๆ บ้างก็สร้างรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่นี้ หลายครั้งที่พวกเราก็แกล้งมัน พอพวกเราส่งเสียงดัง หรือขว้างปาวัตถุเข้าไปใส่ต้นไม้ ฝูงนกก็แตกฮือบินหนีไปคนละทิศคนละทางด้วยความตกใจ แต่พวกเรากลับหัวเราะอย่างสนุกสนาน บางครั้งเราก็ปีนต้นไม้เพื่อที่จะไปให้ถึงรังของนก เราอยากจะเห็นบ้านที่อยู่ของนก อยากจะเห็นไข่ หรือลูกเล็กๆ ของมัน ในขณะที่เราใกล้จะถึง เราจะได้ยินเสียงพ่อ แม่ของลูกนกส่งเสียงร้องอย่างดัง ราวกับจะบอกให้เรารู้ว่า อย่าเข้าใกล้หรือทำอันตรายสิ่งที่เขารักและห่วงแหนมากที่สุด

ในทุ่งนาที่เราเดินหรือบางครั้งก็วิ่งผ่าน เราก็จะเห็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลากหลายชนิด เช่น หนู มด บางครั้งเราก็เห็น คราบของงู เรามองเห็นการทำงานของมด เห็นการหาอาหารของบรรดาแมลงต่าง ๆ เห็นผีเสื้อ แมลงตัวเล็ก และ ผึ้ง ที่มาดอมดมน้ำหวานในดอกไม้ บางครั้งเราก็ไปเด็ดดอกไม้เหล่านั้น เพื่อเปิดหาน้ำหวานในดอกไม้นั้น พวกเราก็พบว่า ในดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เราเด็ดมามีน้ำหวานอยู่จริง พวกเราสนุกสนานกับการได้ลิ้มรสความหวานของน้ำใสๆ ในดอกไม้นั้น ตัวผมเองไม่เคยสงสัย แต่กลับรู้สึกคุ้นเคย เวลาคุณครูวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอธิบายถึงส่วนประกอบของดอกไม้ หรือการขยายพันธุ์ของต้นไม้ หรือในข้อสอบที่ถามถึงรั้วกินได้ และประโยชน์หรือลักษณะการใช้งานของเครื่องมือที่ใช้ในการทำสวนครัว ผมได้เรียนแล้วผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้ากับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

เวลาที่ผมวิ่งไปหาพ่อแม่ ที่เกี่ยวข้าวอยู่กลางทุ่ง พ่อก็จะใช้เคียวที่พ่อใช้เกี่ยวข้าว ตัดต้นข้าว แล้วทำเป็นปี่ผมเป่าเล่น พวกเราเด็ก ๆ ก็เป่าให้มีเสียงดังต่างๆ กันเป็นที่สนุกสนาน ผมไห้พ่อเจาะรูเพิ่มเพื่อให้ปี่ต้นข้าวของผมทำได้มากกว่าหนึ่งเสียง และแกล้งทำเป็นว่าเรากำลังบรรเลงดนตรีที่แสนไพเราะ ด้วยเครื่องดนตรีสากลที่เรียกว่า คาริเน็ต เราได้เรียนรู้อะไรต่อมิอะไรมากมาย เราได้พัฒนาส่วนต่างๆ ของร่างกาย พัฒนาจิตใจ อารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และการได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เรียนรู้วัฒนธรรมของบุคคลและสังคม ได้สื่อสารโดยกระบวนการของภาษา โดยที่ไม่มีทฤษฎีการเรียนรู้ได ๆ มาบอกเรา หรือบอกพ่อแม่ของเราเลย

สิ่งแวดล้อมธรรมชาติให้ประโยชน์อย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก


เมื่อพิจารณาถึงผลระยะยาวที่มีต่อเด็ก ทางด้านสุขภาพทางอารมณ์ที่ดี สุขภาพกายที่ดี
ความสามารถในการเรียน และความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมแล้ว
เราไม่ควรที่จะให้เด็กใช้เวลาส่วนมากอยู่แต่ในห้องเรียนหรือในบ้าน
เด็กจะมีพัฒนาการในทุก ๆ ด้านเพียงขอให้เราสนับสนุนให้เด็กได้มีเวลาให้กับธรรมชาติ
(Green Hours) ให้มากในแต่ละวัน (Washington Post, June, 2007)

นักการศึกษาและนักวิจัยที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับเด็ก และพัฒนาการของเด็กได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับสื่อที่อยู่ล้อมรอบตัวเด็ก อันได้แก่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Stephen Kellert, 2005 in Children&Nature Network, 2008) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Yale ได้กล่าวว่า การที่สภาพแวดล้อมของบ้านที่เป็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จะส่งผลที่ดีกับเด็กในการพัฒนาสมอง ความคิด รวมถึง การพัฒนาศักยภาพในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล ซึ่งเป็นการพัฒนาการของสมองขั้นสูง นอกจากนี้ ในบทความเดียวกัน ยังเพิ่มเติมถึงประโยชน์ของการที่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอีกด้วยว่า เด็กๆ จะมีร่างกายที่สมบูรณ์ และกระตือรือร้น ไม่เป็นโรคอ้วน ซึ่งจะมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง

ในส่วนของการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก วิธี การสอนแบบเก่าที่เรียกว่า Chalk – and – Talk ได้ถูกลืมเลือนไปในภาคส่วนการศึกษา ครูในยุคปัจจุบัน ได้รับการเสริมสร้างให้มีความรู้ในเรื่องสื่อนวัตกรรมการสอนที่ส่งผลโดยตรงให้ กระบวนการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ( Singh, 2007) แต่เมื่อพูดถึงสื่อนวัตกรรมการสอน คนโดยทั่วไปมักเข้าใจว่า หมายถึง เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Information Communication Technologies (ICT)) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนในประเทศที่ได้รับการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนา กลับมาให้ความสนใจในนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีต้นทุนต่ำ (Low-Cost Teaching Aids) หรือไม่ต้องลงทุนและหาได้ในท้องถิ่น สื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนเหล่านี้ ผลิตได้อย่างง่ายๆ จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น หรือ หยิบใช้ได้โดยตรงจากธรรมชาติรอบๆ ตัว และยังทำให้เป็นโรงเรียนที่พึ่งตนเองได้ ลดค่าใช้จ่ายทางด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียน การเลือกสรร การให้ความสนใจกับชุมชนและการนำธรรมชาติไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียน จะทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความหลากหลาย ความน่าสนใจ และเกิดผลประโยชน์สูงสุดกับโรงเรียนในท้องถิ่นนั้นๆ 

ต้นกล้วยน้ำหว้าต้นหนึ่ง ไม่ใช่ให้เพียงผลกล้วยที่มีคุณค่าทางโภชนาการกับทุกคนเท่านั้น
การเกิด เจริญเติบโต ให้ผล และตายไปของต้นกล้วยต้นหนึ่ง
ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วงจรชีวิตของมัน เด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต
เรียนรู้การเปลี่ยนแปลง จดบันทึก เรียนรู้ที่จะรักธรรมชาติ
เด็กบางคนนำก้านกล้วยมาประดิษฐ์เป็นม้าก้านกล้วย วิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนาน
เรือใบที่ได้รับการสร้างสรรค์จากกาบกล้วย ถึงแม้จะดูไม่มีมาตรฐานนัก
แต่ก็ให้ความสุขในจิตใจของเด็กๆ เหล่านั้น
ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์และจิตใจ ได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กับร่างกาย
โดยที่ตัวเด็กๆ เอง อาจจะไม่ได้คิดถึงสิ่งดีๆเหล่านี้ ที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเองด้วยซ้ำไป

ธรรมชาติล้อมรอบตัวเด็กนั้น จัดได้ว่าเป็นการขยายห้องเรียนให้กับนักเรียนของเรา นักเรียนจะได้มีโอกาสเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสในทุกๆ ด้าน และครอบคลุมทุกๆ แขนงของหลักสูตร ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็ก ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ล้วนเป็นบทเรียนและแบบฝึกหัดที่มีประโยชน์โดยตรงต่อทั้งตัวเด็ก และครูผู้สอน (http://www.workingwithwildlife.co.uk/learning/default.asp) เด็กนักเรียนในระดับปฐมวัยสามารถใช้เวลานอกห้องเรียนในการเรียนรู้ธรรมชาติในโรงเรียนและชุมชน ได้ถึง ๑ ใน ๔ ของเวลาที่ต้องใช้ที่โรงเรียน นอกจากนักเรียนจะได้ความรู้จากหลากหลายกิจกรรมที่ครูสามารถให้นักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมแล้ว กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้สึกรัก รับผิดชอบและเป็นเจ้าของธรรมชาตินั้นๆ เป็นการพัฒนาในระดับปัจเจกบุคคล ที่มีผลต่อการพัฒนาในระดับชุมชน ระดับชาติ และระดับโลก ต่อไป และยังส่งผลในเรื่องสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนอีกด้วย เด็กได้พัฒนาและเรียนรู้ทักษะเพื่อการดำรงชีพของตนเองไปตลอดชีวิต (Life-Long Skills) เช่น การปลูกและทำนุบำรุงรักษาต้นไม้ การปลูกดอกไม้ ผัก และผลไม้ต่าง ๆ เด็กได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม ใช้ภาษาที่เหมาะสมในการสื่อสารกับสมาชิกในกลุ่ม พัฒนาความเชื่อมั่น และความศรัทธาในตนเอง

จากการวิจัยพบว่า เมื่อเด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของบ้าน โรงเรียน หรือชุมชน งานสร้างสรรค์ของเด็กจะแตกต่างจากงานของผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในความเป็นมืออาชีพ แต่เด็กจะได้รับการพัฒนาในด้านจินตนาการ และการมีส่วนร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของตัวเขา (White & Vicki, online) ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทั่วประเทศในประเทศHolland พบว่า คนที่อยู่ในบริเวณหรือห่างจากพื้นที่สีเขียว ประมาณ ๑ ถึง ๓ กิโลเมตร มีสุขภาพที่ดีกว่าคนที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณดังกล่าว (Haas et al., 2006 in Children&Nature Network, online) ต้นไม้และธรรมชาติสีเขียวมีผลในการลดความเครียดของกลุ่มเด็กที่มีความเครียดสูง และผลดีที่สุดจะมีความสัมพันธ์กับจำนวนพืชสีเขียว พื้นที่สีเขียว และการได้เล่นกับธรรมชาติ ประสบการณ์ที่เด็กๆ ได้ลงมือปฏิบัติจากการได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมจะหล่อหลอมสติปัญญาและทักษะ ที่เป็นที่ยอมรับในหลักการของการจัดการศึกษาปฐมวัยที่ว่า เด็กจะเรียนได้ดีที่สุดโดยผ่านกระบวนการเล่นและการค้นพบอย่างเสรี (Hughes, 1991) การเล่นอย่างเสรีกับธรรมชาติจะเป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์และน่าดึงดูดใจสำหรับเด็ก เด็กเกิดจินตนาการ ความอยากรู้อยากเห็น การเล่นที่มีคุณภาพนั้นจะพัฒนาเด็กในทุกๆ ด้าน ทั้งร่างกาย การรับความรู้สึก อารมณ์ สติปัญญา และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Haas, 1996) 

เกิดอะไรขึ้นกับเด็ก ๆ ในทุกวันนี้
ในอดีตเด็กๆ เคยได้รับความสุขสนุกสนานกับการที่ได้มีโอกาสเรียนรู้และสัมผัสกับธรรมชาติมากกว่าในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินบนทางเดินเท้า ถนนหนทาง พื้นที่ว่าง สวนสาธารณะ ทุ่งนา ป่าเขา ลำธาร พวกเขาเคยได้สำรวจ เคยเล่น และสัมผัสกับโลกธรรมชาติ โดยปราศจากข้อห้ามหรือการตรวจสอบใดๆ หรือจะมีบ้างก็เพียงเล็กน้อย แต่เด็กๆ ในปัจจุบัน แทบจะไม่มีโอกาสเช่นนั้นเลย โดยเฉพาะเด็กๆ ในชุมชนเมือง การเล่นกับธรรมชาติอย่างเสรี จะมีแต่ข้อห้าม หรือมีโอกาสก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขอบเขตการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจถูกจำกัดและลดลง (Francis, 1991) จากงานวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่า จากผู้ปกครองที่ตอบแบบสอบถามร้อยละ ๙๔ กล่าวว่า เรื่องความปลอดภัยเป็นประเด็นสำคัญในการที่จะอนุญาตให้เด็ก ๆ ออกเล่นนอกบ้านได้อย่างเสรี (Bagley, Ball and Salmon, 2006 in Children&Nature Network, 2008) เช่นเดียวกันกับนักวิจัย ของมหาวิทยาลัย Hofstra ที่สอบถามคุณแม่ จำนวน ๘๐๐ คน ร้อยละ ๘๒ ไม่อนุญาตให้ลูกๆ เล่นนอกบ้านเนื่องจากความกังวลเรื่องอาชญากรรม และ ความปลอดภัย (Clements, 2004 in Children&Nature Network, 2008) 

เด็กเล่นน้ำตามลำคลองอย่างสนุกสนาน เรียนรู้ที่จะว่ายน้ำเพื่อการเอาตัวรอด ว่ายน้ำเป็นโดยที่ไม่ต้องเสียสตางค์ไปเรียนที่โรงเรียนสอนว่ายน้ำ เด็กหลายคนในทุกวันนี้ว่ายน้ำไม่เป็น หลายคนไม่เคยเห็นทะเล หลายคนไม่เคยขึ้นภูเขา ไม่รู้ว่าหน่อไม้คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร หลายคนกลัวป่า กลัวต้นไม้ หลายคนเดินได้เพียงไม่กี่ร้อยเมตรก็เหนื่อยมากจนไม่สามารถเดินต่อไปได้ มันเกิดอะไรขึ้นกับเด็กเหล่านี้ Hofstra University ได้สำรวจคุณแม่ ๘๐๐ คน ที่มีลูกอายุระหว่าง ๓ ถึง ๑๒ ปี พบว่า คุณแม่ร้อยละ ๘๕ ยอมรับว่าเด็กเล่นนอกบ้านน้อยลงกว่าแต่ก่อน และคุณแม่ร้อยละ ๗๐ เล่นนอกบ้านทุกวันเมื่อตอนเป็นเด็ก แต่เพียงร้อยละ ๓๑ ของเด็กในปัจจุบันเท่านั้นที่เล่นนอกบ้านอยู่เป็นประจำ (Clements, 2004 in Children&Nature Network) ความไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเมื่อถูกปล่อยอยู่ตามลำพังเพื่อการเล่นกับธรรมชาติอย่างเสรี ความที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพ่อแม่ และการเพิ่มขึ้นของสื่อเทคโนโลยี เช่น การดูโทรทัศน์และการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ มีส่วนทำให้การเล่นกับธรรมชาติของเด็กลดลงหรือหายไป เช่น เด็กอายุ ๘ ขวบกลุ่มหนึ่งสามารถบอกลักษณะของ Pokemon ได้มากกว่าพันธุ์ของสัตว์ป่าถึง ร้อยละ ๒๕ (Balmfold, Clegg, Coulson and Taylor, 2002 in Children&Nature Network, 2008) จากการสำรวจของ Kaiser Family Foundation ในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ ถึง ๒๐๐๖ พบว่า เด็กอายุระหว่าง ๖ เดือนถึง ๖ ปี ใช้เวลากับสื่อทางอีเลกโทรนิค เฉลี่ยวันละ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ในขณะที่เด็กอายุระหว่าง ๘ ปี ถึง ๑๘ ใช้เวลาในเรื่องเดียวกันนี้ถึงเฉลี่ยวันละ ๖ ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งมากกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (Children&Nature Network, 2008 online) 

เหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการที่ดีของเด็ก ทั้งเรื่องสุขภาพกายและจิตใจที่แย่ลง พัฒนาการด้านอื่นๆ ก็ไม่ได้รับการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็นของเด็ก เรากำลังจะปลูกไม้พันธุ์ใหญ่ลงในกระถางที่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งผลที่ได้มาก็อาจจะดูสวยและ แปลกตา อาจเป็นที่นิยม นั่นก็เพราะ มันเป็นเพียงต้นไม้

เราจะช่วยเด็กกันได้อย่างไร
เนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กในทุก ๆ ด้าน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เราก็ควรที่จะดำเนินการใดๆ ที่ จะก่อให้เกิดผลดังกล่าว ในต่างประเทศ มีองค์กรเครือข่ายที่ใช้ชื่อว่า The Children & Nature Network (C&NN) ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการเป็นสื่อกลางระหว่างเด็กกับธรรมชาติ ให้ข้อมูล ข่าวสารและรายงานผลการวิจัย เพื่อกระตุ้นและสนับสนุน พร้อมทั้งเป็นเครือข่าย ให้ประชาชนและองค์กรต่างๆ พัฒนากิจกรรมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ นอกจากนั้น ยังได้ทำงานร่วมกับนักวิจัย นักการศึกษา และองค์กรอื่นๆ ที่อุทิศตนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

C&NN ได้ริเริ่มโครงการระดับชาติที่มีชื่อว่า "Leave No Child Inside" ที่มุ่งเน้นให้ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนและผู้ปกครองได้ตระหนักและใช้ธรรมชาติเป็นสื่อให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง สื่อธรรมชาติเหล่านี้หาได้ในทุกๆ พื้นที่ ไม่ต้องลงทุน สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น และมีให้ได้ใช้ในทุก ๆ โอกาส ทุกโรงเรียนควรจัดให้มีธรรมชาติในบริเวณโรงเรียน หรืออาศัยธรรมชาติจากชุมชน การจัดธรรมชาติควรให้เด็กได้มีส่วนร่วม ให้เด็กได้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น ได้ลงมือปฏิบัติจริง เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นกับธรรมชาติอย่างเสรีมากขึ้น ภายใต้ สถานการณ์ที่ปลอดภัย

วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันล้วนมีผลกระทบต่อเด็กๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านจิตใจ อิทธิพลของสื่อเทคโนโลยีที่ยากแก่การควบคุม อันมีผลมาจากการแข่งขัน ความต้องการให้เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน และผลกำไรที่จะตามมา สื่อดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ มีอยู่และหาได้ในแทบจะทุกครัวเรือน พ่อแม่ของเด็กหลายต่อหลายคนได้ใช้สื่อนี้เป็นพี่เลี้ยงและสอนลูกของตนเองอยู่วันละเป็นเวลานานๆ การเพิ่มขึ้นของการบ้านที่เด็กได้มาจากโรงเรียน ความไม่ปลอดภัยของชีวิตภายนอกบ้าน และการดำเนินชีวิตของคนบางตนได้เปลี่ยนแปลงไป สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการเด็กอันเป็นผลเนื่องมาจากการได้สัมผัสธรรมชาติ อย่างไรก็ตามหากเราหาทางป้องกัน และเปิดช่องทางธรรมชาติให้กว้างขึ้น เพื่อที่เด็กๆ จะได้เดินไปสัมผัสได้ง่ายและสะดวกขึ้น จะช่วยให้ธรรมชาติเป็นสื่อที่จะพัฒนาเด็กให้มีความรู้ มีจิตใจอ่อนโยน ก่อให้เกิดความรักในธรรมชาติ รักชุมชน ได้เรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะ กระบวนการทางความคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป


References

Children&Nature Network. (2008). Children and Nature. Retrieved December 28, 2008 from http://www.childrenandnature.org/uploads/CNmovement.pdf

Francis, M. (1991). Children of nature. U.C. David Magazine, v 9 n 6

Haas, M. (1996). Children in the junkyard. Children Education, v 72 n 6.

Hirsh-Pasek, K. & Golinkoff, R. M. (2003). How our children learn and why they need to play more and memorize less. Retrieved December 27, 2008 from http://www.buzzle.com/editorials/10-4-2003-46152.asp

Hughes, F. P. (1991). Children play and development. Massachusetts, Allyn & Bacon. Learning through nature. Retrieved December 29, 2008 from http://www.workingwithwildlife.co.uk/learning/default.asp

Singh, H. P. (2007). Low cost teaching aids for rural schools in India. Retrieved December 30, 2008 fromhttp://knol.google.com/k/hareshwar-singh/low-cost- teaching-aids-for-riral/s

White, R. & Vicki, S. Children's outdoor play & learning environments: Returning to nature. Retrieved December 30, 2008 from http://www.whitehutchinson.com/children/articles/outdoor.html 

บทความ การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ

http://www.la-orutis.dusit.ac.th/research3.php


การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ

อ.ธนวดี ศุกระกาญจน

ของเล่นมักมีความสำคัญอย่างยิ่งกับเด็ก เพราะเป็นเสมือนเครื่องมือที่นำเด็กไปสู่การพัฒนาตนเองกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการรับรู้โลกภายนอกผ่านการเสนอความรู้สึกนึกคิดแสดงออกผ่านสื่อต่าง ๆ ของเล่นเป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้เด็กสำรวจ ทดลอง ค้นคว้า กับวัสดุทุกชนิดอย่างอิสระ ผ่อนคลาย ไม่คำนึงถึงความถูกผิด อีกทั้งมีความสอดคล้องกับลักษณะนิสัยของเด็ก ที่เป็นผู้ไม่อยู่นิ่ง ชอบซักถามสืบค้น ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว เด็กจึงเป็นผู้เรียนที่มีความกระตือรือร้น เมื่อเด็กประสบความสำเร็จในงานที่ลงมือกระทำด้วยตนเอง จึงช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง ส่งผลให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น ซึ่งกระบวนการประดิษฐ์ของเล่นอย่างง่าย ๆ จากวัสดุรอบตัวเด็กหรือวัสดุจากธรรมชาติจะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ ทำให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก เป็นพื้นฐานให้เด็กรักการทำงานเพราะการลงมือปฏิบัติให้เด็กเกิดความเคยชิน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องทำให้เด็กรักการทำงาน เกิดความภาคเพียร ผลของความสำเร็จในการทำงานทำให้เกิดความภูมิใจที่ได้รับความสำเร็จอยู่เสมอ ทำให้เกิดความมั่นใจในการทำงาน มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยเฉพาะเราสามารถนำวัสดุจากท้องถิ่น มาประดิษฐ์เป็นของเล่นอย่างง่ายๆ ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น 

- ลูกยาง มีลักษณะลูกกลมๆ มีน้ำหนักและกลีบเลี้ยง 2 ใบ เมื่อโยนลูกยางขึ้นที่สูง ๆ จะหมุนตกลง มาตามทิศทางลม 


- ลูกยางโดดร่ม

สื่ออุปกรณ์
    - ลูกยาง
    - ถุงพลาสติกใสขนาด 12” x 12”
    - สีช๊อก สีโปสเตอร์
    - ด้ายเส้นเล็ก
    - พู่กัน
วิธีทำ
    1. นำลูกยาง ใช้พู่กันระบายสีตกแต่งสีสันให้สวยงาม ผึ่งให้แห้ง
    2. นำถุงพลาสติกใสขนาด 12” x 12” หรือ 10” x 10” ใช้สีช๊อกออกแบบตกแต่งสวยงาม
    3. นำด้าย 4 เส้น ผูกพลาสติกทั้ง 4 มุม ปลายเส้นด้ายอีกข้างผูกที่ลูกยาง

วิธีเล่น พับถุงพลาสติกพันเส้นด้าย โยนขึ้นข้างบน เมื่อตกลงมาร่มหรือถุงพลาสติกจะกางออก และตกลงสู่พื้น 
- ตุ๊กตาลอยลม
สื่ออุปกรณ์
    - ลูกยาง
    - ตะเกียบ หรือ ไม้ 
    - ผ้าเช็ดหน้า หรือ เศษผ้า
    - กระดาษสี
    - กาว กรรไกร
วิธีทำ
    1. เจาะรูลูกยางทากาว ใช้ไม้หรือตะเกียบเสียบตรงรูทิ้งให้กาวแห้ง
    2. ตกแต่งหน้าตาตุ๊กตาบนลูกยางด้วยกระดาษสี
    3.นำผ้าหรือผ้าเช็ดหน้าผูกเป็นกระโปรงติดบริเวณระหว่างตะเกียบกับลูกยางตกแต่งกระโปรงให้สวยงาม

วิธีเล่น สามารถนำไปเล่นเป็นตุ๊กตา หรือเป็นหุ่นประกอบเล่าเรื่องประกอบภาพได้ 

บันทึกการเรียน ประจำวันที่ 23 กันยายน 2557

บันทึกการเรียน

  1.นำเสนอสื่อของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย  (กลุ่มนิศากร)บอกถึงสื่อช่วยพัฒนาเด็กอย่างไร
 


 2.สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น  ดอกไม้ประดิษฐ์   โรงนิทาน  หนังสือป๊อปอัพ
 
 3.อธิบายสื่อแต่ละชนิด และบอกประโยชน์ของสื่อ
  4.ทำกิจกรรมกลุ่มตามสื่อที่จับฉลากได้    ( "โคนันทวิศาล")
      (มีเทคนิคการใช้ เส้นเอ็น)





ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
  • ทราบถึงวิธีการทำนิทานในรูปแบบต่างๆ เช่น การใชเส้นเอ็นขึง เพื่อที่จะขยับตัวละครบางส่วน หรือการทำสื่ออื่นๆๆเช่นการประดิษฐ์ดอกไม้ เป็นต้น